2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความที่เผยแพร่ ผลของการทำ seed priming และอุณหภูมิที่แตกต่างต่อการเปลี่ยนแปลงคุณภาพเมล็ดพันธุ์มะเขือเทศลูกผสม 
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ 24 พฤษภาคม 2555 
การประชุม
     ชื่อการประชุม การประชุมวิชาการเมล็ดพันธุ์พืชแห่งชาติครั้งที่ 9 
     หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม สมาคมเมล็ดพันธุ์แห่งประเทศไทย ร่วมกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา น่าน 
     สถานที่จัดประชุม ห้องแกรนด์บอลรูม โรงแรมเทวราช  
     จังหวัด/รัฐ น่าน 
     ช่วงวันที่จัดประชุม 23 พฤษภาคม 2555 
     ถึง 27 พฤษภาคม 2555 
Proceeding Paper
     Volume (ปีที่)
     Issue (เล่มที่)
     หน้าที่พิมพ์ 12 
     Editors/edition/publisher อรนุช เดียมขุนทด และบุญมี ศิริ 
     บทคัดย่อ การทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของวิธีการเตรียมการงอกและอุณหภูมิที่แตกต่างกันต่อการเปลี่ยนแปลงคุณภาพเมล็ดพันธุ์มะเขือเทศลูกผสม ดำเนินการทดลอง ณ ห้องปฏิบัติการเมล็ดพันธุ์ โรงงานปรับปรุงสภาพเมล็ดพันธุ์ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยการเตรียมการงอก 2 วิธีการ ประกอบด้วย การทำ osmopriming โดยใช้ PEG 6000 4 ระดับ คือ - 0.5, -1.0, -1.5, -2.0 MPa และการทำ matrixpriming โดยใช้วัสดุตัวกลาง 4 ชนิด คือ Calcium Silicate, Vermiculite, Zeolite และ Talcum โดยควบคุมอุณหภูมิที่ 15 และ 25 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 5 วัน หลังจากนั้นนำเมล็ดมาลดความชื้นลงให้เมล็ดพันธุ์มีความชื้นใกล้เคียงกับความชื้นเดิม ด้วยเครื่องลดความชื้นแบบลมแห้งและการหมุนเหวี่ยง รุ่น KKU 40-2 นำเมล็ดมาตรวจสอบการเปลี่ยนแปลงของคุณภาพเมล็ดพันธุ์ในลักษณะต่างๆ คือ ความงอกและความเร็วในการงอก ผลการทดลองพบว่า อุณหภูมิในการเตรียมการงอกมีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงคุณภาพเมล็ดพันธุ์มะเขือเทศลูกผสมอย่างมีนัยสำคัญยิ่ง โดยการเตรียมการงอกที่อุณหภูมิ 15 องศาเซลเซียสทำให้เมล็ดมีคุณภาพสูงสุด และทุกกรรมวิธีทำให้ความงอกและความเร็วในการงอกของเมล็ดมะเขือเทศมีความแตกต่างกันทางสถิติเมื่อเพาะในห้องปฏิบัติการและสภาพเรือนทดลอง โดยเฉพาะการทำ matrixpriming ด้วย Calcium Silicate, Vermiculite และ Zeolite ที่ทำให้ความงอกและความเร็วในการงอกของมะเขือเทศสูงที่สุดทั้งในสภาพห้องปฏิบัติการและสภาพเรือนทดลอง 
ผู้เขียน
535030012-8 น.ส. อรนุช เดียมขุนทด [ผู้เขียนหลัก]
คณะเกษตรศาสตร์ ปริญญาโท ภาคปกติ

การประเมินบทความ (Peer Review) มีผู้ประเมินอิสระ 
มีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
รูปแบบ Proceeding Full paper 
รูปแบบการนำเสนอ Oral 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล ไม่ได้รับรางวัล 
แนบไฟล์
Citation 0