2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความที่เผยแพร่ การศึกษาความสัมพันธ์ของคุณสมบัติของดินบางประการกับความหลากหลายของพรรณไม้ในพื้นที่ดินเค็มมาก ในพื้นที่ลุ่มน้ำชี 
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ 6 ธันวาคม 2555 
การประชุม
     ชื่อการประชุม ประชุมวิชาการแห่งชาติ ครั้งที่ 9 
     หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม มหาวิทยาลัยเกษตร วิทยาเขตกำแพงแสน 
     สถานที่จัดประชุม มหาวิทยาลัยเกษตร วิทยาเขตกำแพงแสน 
     จังหวัด/รัฐ นครปฐม 
     ช่วงวันที่จัดประชุม 6 ธันวาคม 2555 
     ถึง 9 มกราคม 2555 
Proceeding Paper
     Volume (ปีที่) 2555 
     Issue (เล่มที่)
     หน้าที่พิมพ์ 247 
     Editors/edition/publisher  
     บทคัดย่อ งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาความหลากหลายของพรรณไม้ในพื้นที่ดินเค็มมากและความสัมพันธ์กับคุณสมบัติดิน โดยศึกษาในพื้นที่บริเวณลุ่มน้ำชี ได้แก่ จังหวัดกาฬสินธุ์ จังหวัดชัยภูมิ และจังหวัดขอนแก่น โดยสุ่มวางแปลงสำรวจด้วยวิธี stratified sampling method ในแปลงสี่เหลี่ยม (Quadrates) ขนาดกว้าง 4 เมตร ยาว 4 เมตร จังหวัดละ 36 แปลง โดยสำรวจชนิด ร้อยละการปกคลุมของพรรณไม้ พร้อมทั้งเก็บดินในแปลงสำรวจทั้งในฤดูฝน และฤดูแล้งมาวิเคราะห์คุณสมบัติดิน ได้แก่ ค่าการนำไฟฟ้า ค่า pH ความชื้นของดิน ปริมาณโซเดียมที่แลกเปลี่ยนได้ในดิน ความหนาแน่นรวมของดิน ปริมาณอินทรียวัตถุในดิน และเนื้อดิน และนำมาหาค่าสหสัมพันธ์ (Pearson’s correlation) กับความหลากหลายของพรรณไม้ การศึกษาพบว่าความหลากหลายของพรรณไม้ในฤดูฝนมีมากกว่าในฤดูแล้ง โดยพืชที่ปกคลุมมากที่สุดได้แก่ หนามพุงดอ (Azima sarmentosa) หนามแดง (Maytenus makongensis) และขลู่ (Pluchea indica) ตามลำดับ ในฤดูแล้งค่าการนำไฟฟ้า ปริมาณการกระจายของขนาดอนุภาคทรายแป้ง ความชื้นในดิน และปริมาณโซเดียมที่แลกเปลี่ยนได้ในดิน มีความสัมพันธ์กับความหลากหลายของชนิดพรรณไม้ทางลบ ส่วนปริมาณการกระจายของขนาดอนุภาคทราย และความหนาแน่นรวมของดิน มีความสัมพันธ์ในทางบวก ในฤดูฝนปริมาณโซเดียมที่แลกเปลี่ยนได้ในดินมีสัมพันธ์กับความหลากหลายของพรรณไม้ในทางลบ และปริมาณการกระจายของอนุภาคทรายมีความสัมพันธ์ทางบวก ผลการศึกษานี้ชี้ให้เห็นว่าสาเหตุหลักที่ลดลงจากผลกระทบจากเกลือทั้งปัญหาการใช้น้ำ และปริมาณโซเดียมที่มีอยู่มาก ทำให้เหลือพืชที่สามารถอยู่รอดได้น้อยลงโดยพืชที่มีสามารถ และพืชที่เจริญเติบโตได้ดีในพื้นที่ดินเค็มมากที่สุดได้แก่ หนามพุงดอ 
ผู้เขียน
545030004-8 นาย วิศวะ กุลนะ [ผู้เขียนหลัก]
คณะเกษตรศาสตร์ ปริญญาโท ภาคปกติ

การประเมินบทความ (Peer Review) มีผู้ประเมินอิสระ 
มีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
รูปแบบ Proceeding Full paper 
รูปแบบการนำเสนอ Poster 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล ไม่ได้รับรางวัล 
แนบไฟล์
Citation 0