2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความ ผลของการบริหารยาฉีดอีนอกซาพารินทางชั้นใต้ผิวหนังต่อภาวะเลือดออก ความเจ็บปวด และระยะเวลารู้สึกเจ็บปวดในผู้ป่วยโรคหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน 
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ 14 พฤษภาคม 2556 
วารสาร
     ชื่อวารสาร วารสารสมาคมพยาบาล สาขาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 
     มาตรฐานของวารสาร  
     หน่วยงานเจ้าของวารสาร สมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี สาขาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 
     ISBN/ISSN 0125-8842 
     ปีที่ 31 
     ฉบับที่
     เดือน ตุลาคม-ธันวาคม
     ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ 2556 
     หน้า  
     บทคัดย่อ การวิจัยกึ่งทดลองนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการบริหารยาฉีดอีนอกซาพารินทางชั้นใต้ผิวหนังต่อภาวะเลือดออก ความเจ็บปวด และระยะเวลารู้สึกเจ็บปวดในผู้ป่วยโรคหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน กลุ่มตัวอย่างกลุ่มเดียว คือ ผู้ป่วยโรคหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันในหอผู้ป่วยอายุรกรรม ศูนย์หัวใจสิริกิติ์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ระหว่างเดือน มกราคม – มีนาคม 2556 จำนวน 22 ราย ซึ่งแต่ละคนจะได้รับฉีดยาอีนอกซาพารินด้วยแนวทางการบริหารยาฉีดอีนอกซาพารินทางชั้นใต้ผิวหนังที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น ร่วมกับเทคนิคระยะเวลาเดินยาที่ต่างกัน 3 วิธี ได้แก่ วิธีที่ 1 เดินยา 10 วินาที รอ 10 วินาที วิธีที่ 2 เดินยา 20 วินาที และ วิธีที่ 3 เดินยา 30 วินาที ฉีดห่างกันครั้งละ 12 ชั่วโมง จับสลากสุ่มลำดับวิธีฉีด เครื่องมือ คือ แนวทางการบริหารยาฉีดอีนอกซาพารินทางชั้นใต้ผิวหนังจากการทบทวนวรรณกรรม และอธิบายด้วยกรอบแนวคิดทฤษฎีการปรับตัวด้านสรีรวิทยาของรอย บันทึกด้วยแบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล แบบบันทึกภาวะแทรกซ้อนเลือดออกใต้ผิวหนัง และแบบประเมินความเจ็บปวดและการรับรู้ต่อความเจ็บปวด วิเคราะห์ด้วยสถิติ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน Chi-square และ One–way ANOVA ผลการวิจัย พบว่า ผู้ป่วยโรคหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันที่ได้รับการบริหารยาฉีดอีนอกซาพารินทางชั้นใต้ผิวหนังมีการปรับตัวด้านสรีรวิทยาต่อภาวะเลือดออกใต้ผิวหนัง ความเจ็บปวด และระยะเวลารู้สึกเจ็บปวดตรงตำแหน่งฉีดยาแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 แสดงให้เห็นว่า การบริหารยาฉีดอีนอกซาพารินทางชั้นใต้ผิวหนังทั้ง 3 วิธี ไม่มีความแตกต่างกันทั้งในเรื่องการเกิดเลือดออกใต้ผิวหนัง ความเจ็บปวด และระยะเวลารู้สึกเจ็บปวด และสิ่งเร้าร่วมด้านอายุมีความสัมพันธ์กับขนาดของเลือดออกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p = 0.035) และดัชนีมวลกายมีความสัมพันธ์กับการเกิดเลือดออกใต้ผิวหนังอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p = 0.023) ข้อเสนอแนะพยาบาลควรนำแนวทางการบริหารยาฉีดอีนอกซาพารินใช้ควบคู่กับเทคนิคระยะเวลาเดินแต่ละวิธีเพื่อลดเลือดอกใต้ผิวหนัง ความเจ็บปวด และระยะเวลารู้สึกเจ็บปวดในผู้ป่วยโรคหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันที่ได้รับยาอีนอกซาพาริน และเลือกใช้ให้เหมาะกับลักษณะผู้ป่วยแต่ละราย เช่น ในผู้ป่วยสูงอายุหรือผู้ที่มีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ควรเลือกเทคนิคระยะเวลาเดินยา วิธีที่ 3 เดินยา 30 วินาที หรือ วิธีที่ 2 เดินยา 20 วินาที เป็นต้น  
     คำสำคัญ การบริหารยาฉีดอีนอกซาพาริน เลือดออกใต้ผิวหนัง ความเจ็บปวด ระยะเวลารู้สึกเจ็บปวด โรคหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน 
ผู้เขียน
515060016-0 น.ส. สุวรรณี ศิริแสงตระกูล [ผู้เขียนหลัก]
คณะพยาบาลศาสตร์ ปริญญาโท ภาคปกติ

การประเมินบทความ มีผู้ประเมินอิสระ 
สถานภาพการเผยแพร่ ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ 
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
citation ไม่มี 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
แนบไฟล์
Citation 0