2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความ ปัจจัยที่ส่งผลต่อความเครียดของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 25 
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ 27 ธันวาคม 2556 
วารสาร
     ชื่อวารสาร วารสารศึกษาศาสตร์ ฉบับวิจัยบัณฑิตศึกษา 
     มาตรฐานของวารสาร  
     หน่วยงานเจ้าของวารสาร คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     ISBN/ISSN 1905-9574 
     ปีที่
     ฉบับที่
     เดือน ตุลาคม-ธันวาคม
     ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ 2557 
     หน้า
     บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาระดับปัจจัยที่ส่งผลต่อความเครียดของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 25 2) เพื่อศึกษาระดับความเครียดของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 25 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่าง ระดับปัจจัยที่ส่งผลต่อความเครียดและระดับความเครียดของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 25 4) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความเครียดของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 25 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 132 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามมีค่าสัมประสิทธิ์ความเที่ยง 0.96 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป เพื่อหาค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าร้อยละ(Percentage) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบ Pearson Product Moment Coefficient และสร้างสมการถดถอย เพื่อพยากรณ์ตัวแปรตาม โดยใช้การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบปกติ (Enter Multiple Regression Analysis) และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบมีขั้นตอน (Stepwise Multiple Regression Analysis) ผลการวิจัยพบว่า 1. ปัจจัยที่ส่งผลต่อความเครียดของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 25 โดยภาพรวมทั้ง 3 ด้าน อยู่ในระดับ “น้อย” เมื่อพิจารณาค่าเฉลี่ยเป็นรายด้าน อยู่ในระดับ “ปานกลาง” และ “น้อย” โดยเรียงจากค่าเฉลี่ยสูงสุด ตามลำดับ ได้แก่ ปัจจัยด้านองค์การ ปัจจัยด้านงาน และปัจจัยด้านการสนับสนุนทางสังคม 2. ความสัมพันธ์ระหว่างความเครียดของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 25 โดยภาพรวม อยู่ในระดับ “พอประมาณ” เมื่อพิจารณาค่าเฉลี่ยเป็นรายด้าน อยู่ในระดับ “พอประมาณ” และ “ทำให้เกิดความทุกข์” โดยเรียงจากค่าเฉลี่ยสูงสุดตามลำดับ ได้แก่ ความจำไม่ค่อยจะดีอย่างที่เคย ความทนทานต่อโรคภัยต่าง ๆ ของร่างกายลดลง และรู้สึกเหนื่อยแม้จะได้นอนหลับอย่างเพียงพอก็ตาม สำหรับ รู้สึกไม่ค่อยจะดี ไม่มีคุณค่าและหดหู่ใจต่องานที่ทำอยู่ในเวลานี้ มีค่าเฉลี่ยเป็นอันดับสุดท้าย 3. ปัจจัยที่ส่งผลต่อความเครียด และความเครียดของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 25 มีความสัมพันธ์กันทั้งในเชิงบวกและเชิงลบ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ด้านที่มีความสัมพันธ์กันทั้งในเชิงบวก 3 อันดับแรกตามลำดับ ได้แก่ ปัจจัยด้านองค์การ (r = 0.843) ปัจจัยด้านงาน ( r = 0.710) และปัจจัยด้านบุคคล (ความเป็นการศึกษาระดับปริญญาโท) (r = 0.363) สำหรับด้านที่มีความสัมพันธ์กันทั้งในเชิงลบ 3 อันดับแรก ได้แก่ ปัจจัยด้านบุคคล (ความเป็นการศึกษาระดับปริญญาเอก) (r = –0.342) ปัจจัยด้านบุคคล (ความเป็นโรงเรียนขนาดใหญ่) ( r = –0.209) และ ปัจจัยด้านบุคคล (ความเป็นโรงเรียนขนาดกลาง) (r = –0.133) 4. ปัจจัยที่ส่งผลต่อความเครียดของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 25 ที่ผ่านการทดสอบแล้วว่ามีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 มีจำนวน 2 ตัว คือ ปัจจัยด้านองค์การ (X14) และ ปัจจัยด้านงาน (X15) ได้ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณเท่ากับ .852 มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 มีค่าสัมประสิทธิ์การทำนายหรืออำนาจพยากรณ์ ร้อยละ 72.50 (R2= .725) โดยสามารถสร้างสมการถดถอย จากค่าสัมประสิทธิ์การถดถอยของตัวพยากรณ์ ที่อยู่ในรูปคะแนนดิบ (b) และที่อยู่ในรูปคะแนนมาตรฐาน ( ) ได้ดังต่อไปนี้ สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบ (Unstandardized Score) Y' = –0.800 + 0.610(X14) + 0.182(X15) สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐาน (Standardized Score) Zy = 0.185 ZX14 + 0.705 ZX15  
     คำสำคัญ ปัจจัยที่ส่งผลต่อความเครียด, ความเครียดของผู้บริหารสถานศึกษา 
ผู้เขียน
545050296-7 นาย ชานนทร์ มุ่งเขตกลาง [ผู้เขียนหลัก]
คณะศึกษาศาสตร์ ปริญญาโท โครงการพิเศษ

การประเมินบทความ มีผู้ประเมินอิสระ 
สถานภาพการเผยแพร่ ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ 
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
citation มี 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
แนบไฟล์
Citation 0