2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความที่เผยแพร่ การผลิตผลิตภัณฑ์พุดดิ้งข้าวเสริมโปรไบโอติก 
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ 3 ธันวาคม 2556 
การประชุม
     ชื่อการประชุม ประชุมวิชาการประจำปี 2556 
     หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม มหาวิทยาลัยแม่โจ้ 
     สถานที่จัดประชุม ศูนย์การศึกษาและฝึกอบรมนานาชาติ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ 
     จังหวัด/รัฐ เชียงใหม่ 
     ช่วงวันที่จัดประชุม 3 ธันวาคม 2556 
     ถึง 4 ธันวาคม 2556 
Proceeding Paper
     Volume (ปีที่)
     Issue (เล่มที่)
     หน้าที่พิมพ์ 265 
     Editors/edition/publisher  
     บทคัดย่อ โปรไบโอติก (Probiotics) เป็นหนึ่งในผลิตภัณฑ์อาหารเพื่อสุขภาพ (Functional Foods) ที่กาลังได้รับ ความสนใจในขณะนี้ ทั้งนี้เนื่องจากโปรไบโอติกเป็นกลุ่มของจุลินทรีย์ที่มีชีวิตที่มีประโยชน์ต่อความสมดุล ของจุลินทรีย์ชนิดต่างๆ ในระบบลา ไส้ของมนุษย์และสัตว์ ด้วยเหตุนี้จึงมีแนวคิดที่จะนาโปรไบโอติกมาเติมลง ในผลิตภัณฑ์พุดดิ้งข้าว โดยมีการนาข้าวมาเป็นวัตถุดิบหลักในการผลิตผลิตภัณฑ์ เพราะข้าวเป็นผลิตผล ทางการเกษตรที่ประเทศไทยสามารถผลิตได้มากและมีราคาถูก ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงได้ศึกษาการผลิตผลิตภัณฑ์ พุดดิ้งข้าวเสริมโปรไบโอติก โดยศึกษาการใช้แป้ง ได้แก่ แป้งข้าวโพด แป้งมันฝรัง่ และแป้งมันสา ปะหลัง และ ข้าวต่างชนิดกัน ได้แก่ ข้าวหอมมะลิและข้าวเหนียวดา ในการผลิตพุดดิ้งข้าว พบว่าพุดดิ้งข้าวเมื่อใช้ แป้ งข้าวโพดจะได้รับคะแนนความชอบโดยรวมสูงสุด (P≤0.05) ส่วนพุดดิ้งข้าวที่ใช้ข้าวหอมมะลิและ ข้าวเหนียวดา พบว่าได้รับคะแนนความชอบโดยรวมไม่แตกต่างกัน (P>0.05) จากนั้นศึกษาการเหลือรอด ของแบคทีเรียโปรไบโอติกในพุดดิ้งข้าว ระหว่างการเก็บรักษาที่อุณหภูมิ 5๐ซ เป็นเวลา 21 วัน พบว่า เชื้อ Lactobacillus casei สามารถเหลือรอดได้ดีกว่า Lactobacillus acidophilus (P≤0.05) และเมื่อศึกษาผล ของพรีไบโอติกต่อการเหลือรอดของแบคทีเรียโปรไบโอติกในพุดดิ้งข้าว ระหว่างการเก็บรักษาที่อุณหภูมิ 5๐ซ เป็นเวลา 21 วัน พบว่าการเติมฟรุคโตโอลิโกแซคคาไรด์และอินูลินให้ผลการเหลือรอดของเชื้อสูงกว่า การไม่เติมพรีไบโอติก (P≤0.05) และการเติม พรีไบโอติกทัง้ 2 ชนิด ให้ผลการเหลือรอดของเชื้อไม่แตกต่าง กัน (P>0.05) ดังนั้นจึงผลิตพุดดิ้งข้าวเสริมโปรไบโอติกโดยใช้ข้าวหอมมะลิและแป้งข้าวโพด พร้อมทั้งเติม เชื้อ Lactobacillus casei เป็นเชื้อโปรไบโอติกและใช้อินูลินเป็นพรีไบโอติก 
ผู้เขียน
535160037-7 น.ส. ศิริญญา หรูปานวงษ์ [ผู้เขียนหลัก]
คณะเทคโนโลยี ปริญญาโท ภาคปกติ

การประเมินบทความ (Peer Review) มีผู้ประเมินอิสระ 
มีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
รูปแบบ Proceeding Full paper 
รูปแบบการนำเสนอ Poster 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล ไม่ได้รับรางวัล 
แนบไฟล์
Citation 0