2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความ ความชุกและปัจจัยทำนายการเกิดการหกล้มของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง หลังการจำหน่ายจากโรงพยาบาลPrevalence and Factors Predicting Falls in Stroke Survivors Post Discharge 
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ 8 พฤษภาคม 2557 
วารสาร
     ชื่อวารสาร วารสารประสาทวิทยาศาสตร์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 
     มาตรฐานของวารสาร  
     หน่วยงานเจ้าของวารสาร สำนักงานวารสารสมาคมระสาทวิทยาศาสตร์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สาขาประสาทวิทยา ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     ISBN/ISSN 1905-6729 
     ปีที่
     ฉบับที่
     เดือน
     ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ 2557 
     หน้า
     บทคัดย่อ การศึกษาวิจัยเชิงบรรยาย แบบการศึกษาความสัมพันธ์เชิงพยากรณ์ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยทำนายการเกิดการหกล้มในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองหลังการจำหน่ายจากโรงพยาบาล กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ที่มารับการตรวจติดตามผลการรักษา ที่แผนกผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลศรีนครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2556 ถึง 31 พฤษภาคม 2556 จำนวน 205คน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย 2 ส่วน คือ 1) แบบสัมภาษณ์ข้อมูลส่วนบุคคล 2) แบบบันทึกข้อมูลการรักษา เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์และทดสอบสมรรถภาพทางกายของผู้ป่วย วิเคราะห์ข้อมูลโดยการใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติ Logistic regression ผลการวิจัยพบว่า มีการประมาณค่าความชุกของการหกล้มของกลุ่มตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 34.15 (95% CI = 27.60 – 40.69) ปัจจัยภายในบุคคลที่เกิดจากพยาธิสภาพของโรคหลอดเลือดสมอง ได้แก่ ความบกพร่องในการทรงตัว การละ เลยร่างกายครึ่งซีก การอ่อนแรงของกล้ามเนื้อ ความบกพร่องในการดูแลตนเอง และความรู้คิดบกพร่องมีความสัมพันธ์กับการเกิดการหกล้มอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ปัจจัยส่วนบุคคลได้แก่ ประวัติการเคยหกล้ม อาการข้างเคียงจากยา ภาวะกลัวการหกล้ม และภาวะซึมเศร้ามีความสัมพันธ์กับการเกิดการหกล้มอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p< 0.05) ปัจจัยภายนอกบุคคล ได้แก่ สภาพแวดล้อมที่มีสิ่งกีดขวาง และพื้นที่ลื่นมีความสัมพันธ์กับการเกิดการหกล้มอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) โดยตัวแปรที่มีความสัมพันธ์และสามารถเข้าสมการทำนายการเกิดการหกล้มของกลุ่มตัวอย่างได้ เหมาะสม คือ logistic (การเกิดการหกล้มของกลุ่มตัวอย่าง) = -2.43 + 1.25 (ความรู้คิดบกพร่อง) + 1.71 (อาการข้างเคียงจากยา) + 1.36 (ภาวะกลัวการหกล้ม) + 1.11 (ภาวะซึมเศร้า) + 3.12 (สภาพแวดล้อมที่มีสิ่งกีดขวาง) โดยสมการดังกล่าวสามารถทำนายการเกิดการหกล้มของกลุ่มตัวอย่างได้ร้อยละ 44.6 จากผลการวิจัย ควรมีการพัฒนากิจกรรมการพยาบาลเกี่ยวกับการจัดการเปลี่ยนแปลงปัจจัยที่เป็นสิ่งเร้าร่วมที่ทำให้เกิดการหกล้ม เพื่อป้องกันการหกล้มในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองหลังการจำหน่ายจากโรงพยาบาล The purpose of analytical descriptive research was to identity factors predicting falls in stroke survivors post discharge. The subjects were 205 stroke survivors, who came for follow up at outpatient department, Srinagarind Hospital, Faculty of Medicine, Khon Kaen University. Data were collected between 1st March and 31th May 2013. The research instruments were 1) a demographic data interview form 2) data collecting instruments. Data were analyzed using descriptive statistics and logistic regression. The results revealed that fall prevalence estimation of sample was 34.15% (95% CI = 27.60 -40.69). Intrinsic factors were significantly associated with fall, including balance impairment, hemineglect, muscle weakness, self-care deficit, and cognitive impairment (p<0.05). Individual factors, such as history of fall, drug’s side effect, fear of falling, and depression were significantly associated with fall (p<0.05). Extrinsic factors, such as barrier and skidding floor/surface were significantly associated with fall (p<0.05). The logistic predictive model for falls in stroke survivors post discharge was -2.43 + 1.25 (cognitive impairment) + 1.71 (drug’s side effect) + 1.36 (fear of falling) + 1.11 (depression) + 3.12 (barrier), with the precision of 44.6 %. The study results suggested that nursing activities for management contextual stimuli should be developed to prevent fall in stroke survivors post discharge. 
     คำสำคัญ ความชุก, ปัจจัยทำนาย, ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง Prevalence, Factors predicting, Stroke survivor. 
ผู้เขียน
525060092-5 น.ส. พัชรินทร์ คณะพล [ผู้เขียนหลัก]
คณะพยาบาลศาสตร์ ปริญญาโท ภาคปกติ

การประเมินบทความ มีผู้ประเมินอิสระ 
สถานภาพการเผยแพร่ ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ 
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
citation มี 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
แนบไฟล์
Citation 0