2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความที่เผยแพร่ การผลิตผลิตภัณฑ์คีเฟอร์เสริมโปรไบโอติก 
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ 3 ธันวาคม 2556 
การประชุม
     ชื่อการประชุม ประชุมวิชาการประจำปี 2556 
     หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม มหาวิทยาลัยแม่โจ้ 
     สถานที่จัดประชุม ศูนย์การศึกษาและฝึกอบรมนานาชาติ 
     จังหวัด/รัฐ  
     ช่วงวันที่จัดประชุม 3 ธันวาคม 2556 
     ถึง 4 ธันวาคม 2556 
Proceeding Paper
     Volume (ปีที่)
     Issue (เล่มที่)
     หน้าที่พิมพ์ 265 
     Editors/edition/publisher  
     บทคัดย่อ บทคัดย่อ คีเฟอร์ (Kefir) เป็นเครื่องดื่มพื้นเมืองที่ได้รับความนิยมในการบริโภคมาเป็นเวลานานแล้ว ในประเทศแถบตะวันออกกลาง คีเฟอร์ประกอบด้วยแบคทีเรียแลคติกและเชื้อยีสต์อยู่หลายชนิดที่มีประโยชน์อย่างยิ่งต่อสุขภาพ โดยเชื้อแบคทีเรียแลคติกแต่ละสายพันธุ์ จะมีความสามารถในการลดพีเอช (pH) และเพิ่มเปอร์เซนต์ความเป็นกรดของน้ำนมแตกต่างกัน ดังนั้นจึงใช้ความสามารถในการลดพีเอชและเพิ่มเปอร์เซนต์ความเป็นกรดของน้ำนมที่อุณหภูมิ 22 และ 28 องศาเซลเซียสเป็นระยะเวลา 24 ชั่วโมง เพื่อคัดเลือกเชื้อแบคทีเรียโปรไบโอติกที่เหมาะสมสำหรับผลิตผลิตภัณฑ์คีเฟอร์ในรูปแบบของการเติมเชื้อเริ่มต้นบริสุทธิ์ พบว่าเชื้อ Lactobacillus casei สามารถลดพีเอชและเพิ่มเปอร์เซนต์ความเป็นกรดของน้ำนมได้มากที่สุดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p≤0.05) จากนั้นศึกษากราฟการเจริญเติบโต ของเชื้อ Lactobacillus casei และยีสต์ Saccharomyces cerevisiae พบว่า ช่วงเวลาที่เหมาะสมที่เชื้อสองชนิดมีการเจริญอยู่ในระยะล็อกเฟส และเหมาะต่อการใช้เป็นเชื้อเริ่มต้นคือ ระยะเวลาประมาณ 18 ชั่วโมงที่อุณหภูมิ 37 และ 30 องศาเซลเซียสตามลำดับ และเมื่อศึกษาระดับอุณหภูมิการหมักตลอดจนวิธีการที่ใช้ในการผลิตคีเฟอร์ พบว่าอุณหภูมิการหมักที่เหมาะสม คือ 22 องศาเซลเซียส ส่วนวิธีการผลิต คือ การเติมเชื้อบริสุทธิ์ทั้งแบคทีเรียโปรไบโอติกและยีสต์ลงไปพร้อมกัน สำหรับการเติมนมถั่วเหลืองทดแทนนมโคที่ระดับ 20 เปอร์เซนต์พบว่าผลิตภัณฑ์คีเฟอร์ที่ได้มีค่าคะแนนความชอบโดยรวมไม่แตกต่างกันทางสถิติ (p>0.05) กับนมถั่วเหลืองทดแทนนมโคที่ระดับ 0 และ 5 เปอร์เซนต์ คำสำคัญ: คีเฟอร์ โปรไบโอติก แบคทีเรียแลคติก ยีสต์ 1 นักศึกษา หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการอาหาร คณะเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยขอนแก่น 1* รองศาสตราจารย์ ภาควิชาเทคโนโลยีอาหาร คณะเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยขอนแก่น  
ผู้เขียน
535160043-2 นาย พิชัย สัมดี [ผู้เขียนหลัก]
คณะเทคโนโลยี ปริญญาโท ภาคปกติ

การประเมินบทความ (Peer Review) มีผู้ประเมินอิสระ 
มีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
รูปแบบ Proceeding Full paper 
รูปแบบการนำเสนอ Poster 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล ไม่ได้รับรางวัล 
แนบไฟล์
Citation 0