2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความ ผลการให้ความรู้และปฏิบัติในการควบคุมป้องกันลูกน้ำยุงลาย และอัตราการเกิด โรคไข้เลือดออก ตำบลบ้านเลื่อม อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี 
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ 6 ตุลาคม 2557 
วารสาร
     ชื่อวารสาร วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ 
     มาตรฐานของวารสาร TCI 
     หน่วยงานเจ้าของวารสาร คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     ISBN/ISSN  
     ปีที่ ึ7 
     ฉบับที่
     เดือน พฤษภาคม-สิงหาคม
     ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ 2557 
     หน้า  
     บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงทดลอง เพื่อศึกษาผลการให้ความรู้และปฏิบัติเกี่ยวกับการควบคุมลูกน้ำยุงลายและป้องกันโรคไข้เลือดออก โดยชุมชนกลุ่มทดลองได้แก่ชุมชนทุ่งสวรรค์-ศรีปัญญา อำเภอเมืองอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี ชุมชนกลุ่มควบคุม ได้แก่ ชุมชนสุวรรณชาติ ระยะเวลาการให้ความรู้และปฏิบัติติดต่อกัน 5 เดือน (สิงหาคม – ธันวาคม พ.ศ.2556) ให้ความรู้และปฏิบัติแก่ชุมชนกลุ่มทดลองเดือนละ 2 ครั้งในสัปดาห์ที่ 2 และ 4 ของเดือน และสำรวจลูกน้ำยุงลายเดือนละครั้ง แล้วทำการศึกษาเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าดัชนีลูกน้ำยุงลาย ได้แก่ ดัชนีสัดส่วนของบ้านที่พบลูกน้ำ (House Index: H.I.) สัดส่วนของภาชนะที่พบลูกน้ำ (Container Index: C.I.) และสัดส่วนของภาชนะที่พบลูกน้ำต่อบ้าน 100 หลังคาเรือน (Breteau Index: B.I.) ในแต่ละเดือน และอัตราการเกิดโรคไข้เลือดออก ในชุมชนกลุ่มทดลองและชุมชนกลุ่มควบคุม ทั้งก่อน และหลัง การให้ความรู้และปฏิบัติ ผลการศึกษาวิจัย พบว่า ก่อนการศึกษาให้ความรู้และปฏิบัติ ค่าดัชนีลูกน้ำยุงลาย ในชุมชนกลุ่มทดลอง พบค่า H.I., C.I., B.I. ร้อยละ 21.8, 16.8และ 54.6ตามลำดับ และในชุมชนกลุ่มควบคุม พบค่า H.I., C.I., B.I. ร้อยละ 20.0, 19.0, 40.0 ตามลำดับ ส่วนอัตราการเกิดโรคไข้เลือดออกชุมชนกลุ่มทดลอง และชุมชนกลุ่มควบคุม เท่ากับ 21.9, 16.4 ต่อประชากรแสนคน ตามลำดับ หลังการให้ความรู้และปฏิบัติ ค่า H.I. เฉลี่ย (6.1%) ในชุมชนกลุ่มทดลองลดลง 3 เท่า ค่า C.I. เฉลี่ย (1.4%) ลดลง 10 เท่า และ B.I. เฉลี่ย (6.9%) ลดลง 8 เท่า และอัตราการเกิดโรคไข้เลือดออกเฉลี่ย (5.5 ต่อประชากรแสนคน) ลดลง 4 เท่า และค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายทุกค่า ลดลงมากกว่าชุมชนกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < 0.001) และอัตราการเกิดโรคไข้เลือดออก ลดลงกว่าก่อนการทดลอง และลดลงมากกว่าชุมชนกลุ่มควบคุม การศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าผลการให้ความรู้และปฏิบัติ ทำให้ค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายเฉลี่ยลดลง ส่งผลทำให้อัตราการเกิดโรคไข้เลือดออกลดลงด้วย  
     คำสำคัญ โรคไข้เลือดออก, ผลการให้ความรู้และปฏิบัติ 
ผู้เขียน
555110117-1 น.ส. ณัฐญากร มอญขันธ์ [ผู้เขียนหลัก]
คณะสาธารณสุขศาสตร์ ปริญญาโท โครงการพิเศษ

การประเมินบทความ มีผู้ประเมินอิสระ 
สถานภาพการเผยแพร่ ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ 
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
citation มี 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
แนบไฟล์
Citation 0