2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความที่เผยแพร่ ศักยภาพของการใช้ carboxymethyl cellulose และ hydroxypropyl methylcellulose เป็นวัสดุประสาน สำหรับการพอกเมล็ดพันธุ์ผักกาดหอม 
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ 26 มกราคม 2558 
การประชุม
     ชื่อการประชุม การประชุมวิชาการเกษตร ครั้งที่ 16 
     หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     สถานที่จัดประชุม คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     จังหวัด/รัฐ ขอนแก่น 
     ช่วงวันที่จัดประชุม 26 มกราคม 2558 
     ถึง 27 มกราคม 2558 
Proceeding Paper
     Volume (ปีที่) 43 
     Issue (เล่มที่) 0125-0485 
     หน้าที่พิมพ์ 268-273 
     Editors/edition/publisher แก่นเกษตร 
     บทคัดย่อ เมล็ดพันธุ์ผักกาดหอมรูปร่างแบน และมีขนาดเล็ก อาหารสะสมในเมล็ดน้อย และการงอกไม่สม่ำเสมอ การเจริญเติบโตช้า จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการพอกเมล็ดพันธุ์ เพื่อให้เมล็ดงอกสม่ำเสมอมากขึ้น และง่ายต่อการปลูก ซึ่งวัสดุประสานเป็นส่วนประกอบที่สำคัญที่จะทำให้การพอกเมล็ดพันธุ์ประสบความสำเร็จได้ งานวิจัยนี้จึงค้นหาชนิดและอัตราส่วนวัสดุประสานที่เหมาะสมสำหรับการพอกเมล็ดพันธุ์ผักกาดหอม โดยทำการทดลองที่ห้องปฏิบัติการเทคโนโลยีเมล็ดพันธุ์ โรงงานปรับปรุงสภาพเมล็ดพันธุ์ คณะเกษตรศาสตร์ และห้องปฏิบัติการเทคโนโลยีเภสัชกรรม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยตรวจสอบคุณสมบัติของวัสดุประสาน ลักษณะทางกายภาพของก้อนพอก และความงอก ความแข็งแรงของเมล็ดพันธุ์ผักกาดหอม พบว่า hydroxylpropylmethyl cellulose (HPMC) และ carboxylmethyl cellulose (CMC) ที่เป็นวัสดุประสาน มี pH อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม แผ่นฟิล์มของ HPMC สามารถละลายน้ำได้ดีกว่า CMC และวัสดุประสานทั้ง 2 ชนิดมีค่าความหนืดเพิ่มขึ้นตามน้ำหนักของวัสดุประสานที่เพิ่มขึ้น ส่วนคุณสมบัติด้านกายภาพของเมล็ดผักกาดหอมพอกพบว่า เมล็ดพอกมีความชื้นใกล้เคียงกันทุกวิธีการ และเมล็ดผักกาดหอมที่ได้จากการพอกโดยใช้ HPMC อัตรา 0.4 และ 0.6 กรัม สามารถดูดซับน้ำจนก้อนพอกปริแตกได้รวดเร็วกว่ากรรมวิธีอื่นๆ และการพอกเมล็ดโดยการใช้วัสดุประสานทั้ง 2 ชนิด ทำให้เมล็ดผักกาดหอมที่พอก มีความกร่อนเพียงเล็กน้อย และไม่มีผลต่อความงอกและความแข็งแรงของเมล็ดพันธุ์ผักกาดหอม 
ผู้เขียน
577030017-6 นาย จักรพงษ์ กางโสภา [ผู้เขียนหลัก]
คณะเกษตรศาสตร์ ปริญญาเอก ภาคปกติ

การประเมินบทความ (Peer Review) มีผู้ประเมินอิสระ 
มีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
รูปแบบ Proceeding Full paper 
รูปแบบการนำเสนอ Oral 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล ได้รับรางวัล 
     ชื่อรางวัล รางวัลชมเชยในการนำเสนอแบบบรรยาย 
     ประเภทรางวัล รางวัลด้านวิชาการ วิชาชีพ 
     หน่วยงาน/องค์กรที่มอบรางวัล คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     วัน/เดือน/ปี ทีด้รับรางวัล 27 มกราคม 2558 
แนบไฟล์
Citation 0