2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความ การผลิตและการตลาดฟาร์มกบในอำเภอเมือง จังหวัดเลย 
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ 8 เมษายน 2557 
วารสาร
     ชื่อวารสาร วารสารเกษตรพระวรุณ 
     มาตรฐานของวารสาร  
     หน่วยงานเจ้าของวารสาร คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม 
     ISBN/ISSN 1685-8379 
     ปีที่ 11 
     ฉบับที่
     เดือน มิถุนายน
     ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ 2558 
     หน้า 65-72 
     บทคัดย่อ งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการผลิตและการตลาดฟาร์มกบโดยใช้วิธีการสัมภาษณ์รายบุคคลประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นเกษตรกรผู้เลี้ยงกบในอำเภอเมือง จังหวัดเลย จำนวน 8 รายผลการศึกษาพบว่า การเลี้ยงกบส่วนใหญ่ของเกษตรกรเลี้ยงเพื่อเป็นรายได้ให้กับครอบครัว เกษตรกรมีประสบการณ์ในการเลี้ยงกบเฉลี่ย 4.63 ปี เกษตรกรใช้เวลาในการเลี้ยงกบเฉลี่ย 101.25 วัน/รุ่น กบที่เลี้ยงมีน้ำหนัก 4-5 ตัว/กิโลกรัม โรงเรือน/บ่อที่เกษตรกรใช้เลี้ยงจะเป็นแบบถาวรซึ่งทำจากบ่อซีเมนต์ หลังคามุงด้วยแสลน พื้นบ่อปูด้วยกระเบื้อง ขนาดบ่อเลี้ยงกบของเกษตรกร คือ 3x4 ม. สูง 1.2 ม. เกษตรทำความสะอาดบ่อสัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง เกษตรกรจะให้อาหารวันละ 2 ครั้ง ส่วนน้ำที่ใช้เลี้ยงส่วนใหญ่จะใช้น้ำประปา ในปีที่ผ่านมาโรคที่พบมากที่สุดคือ โรคกบขาแดง การรักษาโรคของเกษตรกรจะใช้ยาปฏิชีวนะ จากการศึกษาต้นทุนและผลตอบแทน พบว่า เกษตรกรมีต้นทุนทั้งหมด 65,082.82 บาท มีรายได้จากการขายกบทั้งหมด 93,230.21 บาท ซึ่งจะขายกบทั้งหมดเฉลี่ย 1,048.74 กก. เมื่อหักต้นทุนการผลิตเกษตรกรมีรายได้สุทธิ 28,147.39 บาท และเมื่อคิดต้นทุนและผลตอบเฉลี่ยต่อกิโลกรัม พบว่า เกษตรกรมีต้นทุนทั้งหมด 50.64 บาท/กก. เกษตรกรจะขายกบในกิโลกรัมละ 88.80 บาท โดยเกษตรกรจะจำหน่ายให้ประชาชนทั่วไปเพื่อนำไปบริโภค เมื่อหักต้นทุนแล้วเกษตรกรจะมีรายได้สุทธิ 38.16 บาท/กก.ปัญหาหลักของเกษตรกรผู้เลี้ยงกบ คือ ปัญหาด้านราคาอาหารและยารักษาโรคมีราคาสูง ดังนั้นเกษตรกรจึงต้องการความช่วยเหลือจากหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องเข้ามาสนับสนุนปัจจัยในด้านการผลิต เวชภัณฑ์ วัคซีน และต้องการให้เจ้าหน้าที่เข้าไปให้คำแนะนำดูแลสม่ำเสมอ เพื่อให้ผลผลิตของกบที่ได้มีคุณภาพที่ดี ต้นทุนต่ำและมีผลตอบแทนสูงขึ้น และเพื่อเพิ่มปริมาณการผลิตกบให้มากขึ้น 
     คำสำคัญ กบ การผลิต การตลาด 
ผู้เขียน
545030056-9 น.ส. ปรียานันท์ มวลเมืองสอง [ผู้เขียนหลัก]
คณะเกษตรศาสตร์ ปริญญาโท โครงการพิเศษ

การประเมินบทความ มีผู้ประเมินอิสระ 
สถานภาพการเผยแพร่ ตีพิมพ์แล้ว 
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
citation มี 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
แนบไฟล์
Citation 0