2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความที่เผยแพร่ เพศภาวะกับการย้ายถิ่นของแรงงานหญิงลาวในจังหวัดมุกดาหาร 
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ 19 มิถุนายน 2558 
การประชุม
     ชื่อการประชุม International Conference on Humanities and Social Sciences 2014 (IC-HUSO 2014) At Khon Kaen University, Thailand 
     หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     สถานที่จัดประชุม คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     จังหวัด/รัฐ  
     ช่วงวันที่จัดประชุม 20 พฤศจิกายน 2557 
     ถึง 21 พฤศจิกายน 2557 
Proceeding Paper
     Volume (ปีที่) 2014 
     Issue (เล่มที่) 400 
     หน้าที่พิมพ์ 94 
     Editors/edition/publisher  
     บทคัดย่อ บทความนี้มุ่งทำความเข้าใจ สาเหตุการย้ายถิ่นข้ามแดนของแรงงานหญิงชาวลาว เพื่อทำงานแม่บ้าน ขายของหน้าร้าน และเป็นพี่เลี้ยงเด็ก ในพื้นที่จังหวัดมุกดาหาร ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เรื่องแรงงานหญิงลาวในจังหวัดมุกดาหาร: การปรับตัว การต่อรอง และความสัมพันธ์ข้ามแดน โดยใช้แนวคิดเพศภาวะ (gender) เป็นกรอบในการอธิบาย และใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพในการศึกษา การรวบรวมข้อมูล นอกจากการศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้องแล้ว มีการสัมภาษณ์เชิงลึก การสังเกตอย่างมีส่วนร่วม และไม่มีส่วนร่วม การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การพรรณนาตามกรอบแนวคิด เพื่อทำความเข้าใจสาเหตุการย้ายถิ่นข้ามแดนของแรงงานหญิงชาวลาว การศึกษาการย้ายถิ่นของแรงงานที่ผ่านมา มักให้ความสำคัญกับเงื่อนไขทางเศรษฐกิจ ซึ่งเป็นทั้งปัจจัยดึงดูดและผลักดันให้เกิดการย้ายถิ่น บทความนี้ต้องการชี้ให้เห็นว่าสาเหตุการย้ายถิ่นข้ามแดนของแรงงานหญิงชาวลาวไม่ได้ถูกกำหนดด้วยมิติทางเศรษฐกิจเท่านั้น หากแต่บทบาทหน้าที่ ความรับผิดชอบของผู้หญิง ในฐานะการเป็น “ลูกสาวที่ดี” ซึ่งต้องทดแทนบุญคุณพ่อแม่ โดยการจุนเจือครอบครัว เพื่อความอยู่รอด หรือเพื่อยกระดับฐานะทางเศรษฐกิจและสังคม ความต้องการมีชีวิตอิสระจากกรอบประเพณี ที่ควบคุม กำกับ ความสัมพันธ์หญิงชายในสังคมลาว รวมทั้งความต้องการมีประสบการณ์ การใช้ชีวิตในสังคมที่ “ทันสมัย” มีโอกาสแต่งตัวตามแฟชั่น ได้เสริมความงาม ตามที่เคยรับรู้จากการชมโทรทัศน์ และจากคำบอกเล่าของเพื่อนที่ทำงานในประเทศไทย สิ่งเหล่านี้ล้วนมีส่วนสำคัญให้หญิงชาวลาวตัดสินใจมาทำงานในประเทศไทย ผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่า การอธิบายการย้ายถิ่นที่จำกัดอยู่เฉพาะมิติเศรษฐกิจนั้น ไม่สามารถเข้าใจถึงความซับซ้อนของสาเหตุการย้ายถิ่นข้ามแดนของแรงงานหญิงชาวลาวได้  
ผู้เขียน
555080016-2 น.ส. วทานีย์นฎา จงแก้ว [ผู้เขียนหลัก]
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ปริญญาโท ภาคปกติ

การประเมินบทความ (Peer Review) มีผู้ประเมินอิสระ 
มีการเผยแพร่ในระดับ นานาชาติ 
รูปแบบ Proceeding Abstract 
รูปแบบการนำเสนอ Oral 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล ไม่ได้รับรางวัล 
แนบไฟล์
Citation 0