2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความที่เผยแพร่ การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ เรื่องพันธุศาสตร์และเทคโนโลยีชีวภาพ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้วัฏจักรการเรียนรู้แบบสืบเสาะ 7 ขั้นร่วมกับแผนผังมโนมติ 
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ 25 มิถุนายน 2558 
การประชุม
     ชื่อการประชุม การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ครั้งที่ 35 
     หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม 1. สภาคณะผู้บริหารบัณฑิตศึกษาแห่งประเทศไทย 2. มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ 3. มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา 4. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา และ 5. มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด 
     สถานที่จัดประชุม ห้องราชนครินทร์ ชั้น 5 อาคารราชนครินทร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ 
     จังหวัด/รัฐ ฉะเชิงเทรา 
     ช่วงวันที่จัดประชุม 25 มิถุนายน 2558 
     ถึง 26 มิถุนายน 2558 
Proceeding Paper
     Volume (ปีที่) 2558 
     Issue (เล่มที่) P-MED031 
     หน้าที่พิมพ์ 2676-2689 
     Editors/edition/publisher  
     บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ ความเข้าใจมโนมติทางวิทยาศาสตร์ และการเปลี่ยนแปลงมโนมติทางวิทยาศาสตร์ เรื่องพันธุศาสตร์และเทคโนโลยีชีวภาพ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้วัฏจักรการเรียนรู้แบบสืบเสาะ 7 ขั้นร่วมกับแผนผังมโนมติ (concept mapping) กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยคือนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสิรินธร จังหวัดสุรินทร์ จำนวน 31 คน รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (action research) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 3 ประเภท ได้แก่ 1) เครื่องมือที่ใช้ในการพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่องพันธุศาสตร์และเทคโนโลยีชีวภาพ โดยใช้รูปแบบการเรียนรู้แบบสืบเสาะ 7 ขั้นร่วมกับแผนผังมโนมติ จำนวน 8 แผน 2) เครื่องมือที่ใช้ในการสะท้อนผลการปฏิบัติ ได้แก่ แบบสังเกตการจัดการเรียนรู้ และแบบบันทึกความคิดเห็นของผู้ร่วมวิจัยและนักเรียน และ 3) เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินประสิทธิภาพในการเรียน ได้แก่ แบบวัดมโนมติทางวิทยาศาสตร์แบบ a two-teir multiple choice ผลการวิจัย พบว่า การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ เรื่องพันธุศาสตร์และเทคโนโลยีชีวภาพ โดยใช้วัฏจักรการเรียนรู้แบบสืบเสาะ 7 ขั้น ร่วมกับแผนผังมโนมติ ประกอบด้วย 7 ขั้นดังนี้ (1) ขั้นตรวจสอบความรู้เดิมของนักเรียน (2) ขั้นเร้าความสนใจเพื่อนำไปสู่การเรียนรู้ (3) ขั้นสำรวจและค้นหา (4) ขั้นอธิบายและลงข้อสรุป (5) ขั้นขยายความรู้ (6) ขั้นประเมินผลโดยใช้แผนผังมโนมติ และ (7) ขั้นนำความรู้ไปใช้อธิบายปรากฏการณ์ต่างๆ ในชีวิตประจำวัน นักเรียนมีค่าเฉลี่ยของคะแนนความเข้าใจมโนมติทางวิทยาศาสตร์ก่อนเรียนแตกต่างจากหลังเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับนัยสำคัญ 0.01 และมีนักเรียนจำนวน 14 คน ที่มีการเปลี่ยนแปลงมโนมติทางวิทยาศาสตร์ไปสู่มโนมติทางวิทยาศาสตร์ที่สมบูรณ์  
ผู้เขียน
565050341-0 นาย สันติสุข คอยซิ [ผู้เขียนหลัก]
คณะศึกษาศาสตร์ ปริญญาโท ภาคปกติ

การประเมินบทความ (Peer Review) มีผู้ประเมินอิสระ 
มีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
รูปแบบ Proceeding Full paper 
รูปแบบการนำเสนอ Poster 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล ไม่ได้รับรางวัล 
แนบไฟล์
Citation 0