2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความ ประสิทธิภาพวัสดุและการเว้นช่องว่างเพื่อการลดความร้อน ด้วยระแนงแนวนอน 
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ 25 พฤษภาคม 2558 
วารสาร
     ชื่อวารสาร วารสารวิชาการคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     มาตรฐานของวารสาร TCI 
     หน่วยงานเจ้าของวารสาร คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     ISBN/ISSN 16854489 
     ปีที่ 14 
     ฉบับที่
     เดือน มกราคม - มิถุนายน
     ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ 2558 
     หน้า 145-160 
     บทคัดย่อ งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาถึงการลดความร้อนเข้าสู่อาคารด้วยการใช้ระแนงบังแดดแนวนอน โดยวิธี การศึกษาภายใต้สภาวะจริง ด้วยหุ่นจำลองที่มีผนังทดสอบเป็นผนังทึบไม่มีช่องเปิด ติดตั้งแผงกันแดดโดยใช้ระแนง หน้ากว้าง 3 นิ้ว ติดตั้งห่างผนัง 0.30 เมตร หันหน้าไปทางทิศใต้ การศึกษาที่ 1 เปรียบเทียบการติดตั้งระแนง ไม้จริง ไฟเบอร์ซีเมนต์ คอมโพสิทไม้ผสม พลาสติค และแผ่นอลูมิเนียมพับ โดยใช้ระยะเว้นช่อง 1 นิ้ว ผลคือ ระแนงแผ่น อลูมิเนียมพับลดความร้อนได้มากที่สุด รองลงมาคือ ไฟเบอร์ซีเมนต์ คอมโพสิทไม้ผสมพลาสติค และไม้จริง ตามลำดับ การศึกษาที่ 2 เปรียบเทียบสีและพื้นผิวระแนงแผ่นอลูมิเนียมพับ 3 ชนิด คือ อบสีขาว ทาสีขาวด้าน และไม่ทำสี ผลคือ ระแนงอบสีขาวมีอุณหภูมิผิวตำที่สุด ตำกว่าระแนงทาสีขาว 0.4 o C และตำกว่าระแนงไม่ทำสี 3.5 o C การศึกษาที่ 3 เปรียบเทียบการติดตั้งระแนง แบบไม่เว้นช่อง เว้นช่อง 1/2 นิ้ว 1 นิ้ว และ 1 1/2 นิ้ว ผลคือ แบบมีการ เว้นช่องทั้ง 3 ตัวอย่างมีอุณหภูมิใกล้เคียงกัน มีอุณหภูมิตำกว่าแบบไม่เว้นช่อง 0.6-1.0 o C การศึกษาที่ 4 เปรียบเทียบ การติดตั้งระแนง เว้นช่อง 1 นิ้ว 2 นิ้ว 3 นิ้ว และ 4 นิ้ว ผลคือ การติดตั้งระแนงแบบเว้นช่องทั้งหมดมีอุณหภูมิใกล้เคียงกัน อุณหภูมิตำกว่าแบบไม่มีระแนง 1.0-1.4 o C การติดตั้งแบบเว้นช่อง 2 นิ้ว สามารถป้องกันความร้อนเข้าสู่อาคารได้ดี ที่สุด แสดงให้เห็นว่า การใช้ระแนงวัสดุทึบแสง สามารถลดความร้อนเข้าสู่อาคารผ่านผนังทึบได้ โดยมีประสิทธิภาพ ต่างกันตามคุณสมบัติวัสดุ การใช้สีโทนอ่อนและผิวมันวาว จะทำให้ป้องกันความร้อนได้ดี การติดตั้งทุกระยะเว้นช่อง สามารถลดความร้อนเข้าสู่อาคารได้ การติดตั้งแบบไม่เว้นช่องจะทำให้ประสิทธิภาพการป้องกันความร้อนตำกว่าแบบ เว้นช่องว่าง ระยะเว้นช่องที่เหมาะสมคือ 1/2-4 นิ้ว เนื่องจากสามารถลดความร้อนได้ใกล้เคียงกัน สามารถปรับใช้ได้ ตามความเหมาะสมในด้านอื่นๆ และรูปแบบที่มีประสิทธิภาพสูงสุดสำหรับการศึกษานี้ คือ ระแนงแผ่นอลูมิเนียมพับ สีขาวเคลือบผิวมัน ระยะการเว้นช่อง 2 นิ้ว 
     คำสำคัญ ระแนงบังแดด อุปกรณ์บังแดด อาคาร 
ผู้เขียน
555200031-0 นาย สันติภาพ เพียนอก [ผู้เขียนหลัก]
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ปริญญาโท โครงการพิเศษ

การประเมินบทความ มีผู้ประเมินอิสระ 
สถานภาพการเผยแพร่ ตีพิมพ์แล้ว 
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
citation ไม่มี 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
แนบไฟล์
Citation 0