2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความที่เผยแพร่ การปรับปรุงเปลือกอาคารเพื่อลดการรับความร้อนเข้าสู่อาคาร กรณีศึกษา : สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครราชสีมา เขต 6 
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ 18 กันยายน 2558 
การประชุม
     ชื่อการประชุม การประชุมวิชาการระดับชาติ "โฮมภูมิ" ครั้งที่ 2 อยู่อย่างยั่งยืน 
     หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา 
     สถานที่จัดประชุม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา 
     จังหวัด/รัฐ นครราชสีมา 
     ช่วงวันที่จัดประชุม 17 กันยายน 2558 
     ถึง 18 กันยายน 2558 
Proceeding Paper
     Volume (ปีที่)
     Issue (เล่มที่)
     หน้าที่พิมพ์ 179-192 
     Editors/edition/publisher ผศ.ดร.ธราวุฒิ บุญเหลือ / 1 / หจก.โคราชมาร์เก็ตติ้ง แอนด์ โปรดักชั่น 
     บทคัดย่อ เนื่องจากความต้องการใช้พลังงานไฟฟ้าในประเทศมีปริมาณเพิ่มขึ้น ทำให้ต้องพึ่งพาพลังงานจากต่างประเทศ ซึ่งอาจทำให้เกิดความเสี่ยงต่อความมั่นคง ทางด้านพลังงานในประเทศส่งผลถึงการใช้พลังงานในอนาคต จึงควรสร้างแนวทางในการลดการใช้พลังงานเพื่อตอบสนองนโยบายของภาครัฐ เพื่อเป็นแนวทางในการส่งเสริมให้มีการอนุรักษ์พลังงานไฟฟ้าภายในประเทศ การศึกษาครั้งนี้ใช้อาคารสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมาเขต 6 อ.บัวใหญ่ จ.นคราชสีมาเป็นอาคารกรณีศึกษา มีพื้นที่ใช้สอยอาคารรวม 1,434 ตร.ม. ซึ่งเป็นอาคารปรับอากาศทั้งหลัง วางตัวอาคารขนานตามถนนทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ที่รับรังสีความร้อนจากภายนอกผ่านกระจกเข้าสู่ภายในอาคารส่งผลให้ค่าไฟฟ้าเพิ่มสูงขึ้นการวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ1) สำรวจการใช้พลังงานในอาคารจริงและวิเคราะห์ตัวแปรหลักที่ทำให้เกิดพลังงานไฟฟ้าสิ้นเปลืองในอาคาร2) เปรียบเทียบและเสนอแนวทางในการปรับปรุงเชิงกายภาพและความคุ้มค่าในการลงทุน ข้อมูลจากการสำรวจพบว่า การใช้พลังงานไฟฟ้าเกิดจากระบบปรับอากาศถึง67.91%ระบบไฟฟ้าส่องสว่าง13.41% ระบบอุปกรณ์อาคารอื่นๆ 18.68% ตัวแปรหลักที่ทำให้เกิดการใช้พลังงานสิ้นเปลืองในอาคารคือ เปลือกอาคารได้แก่ ผนังโปร่งแสง 34.77% ผนังทึบ 60.93% ค่า OTTV=70.59 วัตต์/ตร.ม. ค่า RTTV =24.89 วัตต์/ตร.ม. เกินเกณฑ์มาตรฐาน ค่าส่องสว่างแสงธรรมชาติเฉลี่ย 644.94 Lux เปลือกอาคารเป็นตัวแปลสำคัญที่ทำให้เกิดพลังงานสิ้นเปลืองผลการวิจัยพบว่าแนวทางการปรับปรุงที่เหมาะสมคือแนวทางที่ 3 การลดพื้นที่ผนังโปร่งแสงโดยใส่ฉนวนใยแก้วหนา 2 นิ้ว ปิดทับด้วยแผ่นยิปซั่มบอร์ด หนา 12 มม.และปรับปรุงฝ้าเพดานโดย ปูแผ่นฉนวนใยแก้ว ความหนา 2 นิ้วปิดทับด้วยแผ่นยิปซั่มบอร์ด หนา 12 มม.ค่า OTTV ลดลงเหลือ 49.64วัตต์/ตร.ม. ค่า RTTVลดลงเหลือ 11.85 วัตต์/ตร.ม.พลังงานโดยรวมของอาคารลดลงเหลือ 152,340.91 กิโลวัตต์ชั่วโมงค่าส่องสว่างแสงธรรมชาติเฉลี่ย 494.39 Lux ค่าใช้จ่ายในการลงทุน 423,452.32 บาท คืนทุนภายใน 5.25 ปี 
ผู้เขียน
555200020-5 นาย ศุภกิตติ์ จันทรังษ์ [ผู้เขียนหลัก]
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ปริญญาโท โครงการพิเศษ

การประเมินบทความ (Peer Review) มีผู้ประเมินอิสระ 
มีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
รูปแบบ Proceeding Full paper 
รูปแบบการนำเสนอ Oral 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล ไม่ได้รับรางวัล 
แนบไฟล์
Citation 0