2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความ การศึกษาความแปรปรวนเชิงพื้นที่ของค่าการนำไฟฟ้าในพื้นที่ดินภายใต้อิทธิพลของเกลือในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: ระยะห่างที่เหมาะสมระหว่างจุดเก็บตัวอย่างดิน 
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ 27 เมษายน 2556 
วารสาร
     ชื่อวารสาร แก่นเกษตรฉบับพิเศษ ปีที่ 41 
     มาตรฐานของวารสาร TCI 
     หน่วยงานเจ้าของวารสาร คณะเกษตรศาสตร์ ม.ขอนแก่น 
     ISBN/ISSN  
     ปีที่ 41 
     ฉบับที่
     เดือน
     ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ 2556 
     หน้า 129-136 
     บทคัดย่อ ข้อมูลเกี่ยวกับความแปรปรวนเชิงพื้นที่ของค่าการนำไฟฟ้าของดิน มีความสำคัญอย่างยิ่งสำหรับการวางแผนและการจัดการพื้นที่ดินภายใต้อิทธิพลของเกลือ การศึกษาหาความแปรปรวนดังกล่าวนี้จะให้ผลที่ถูกต้องดีเพียงใดขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ หนึ่งในนั้นคือระยะห่างในการเก็บตัวอย่างดิน งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาระยะห่างที่เหมาะสมในการเก็บตัวอย่างดินเพื่อวัดค่าการนำไฟฟ้าในพื้นที่ดินภายใต้อิทธิพลของเกลือที่มีระดับความรุนแรงแตกต่างกัน พื้นที่ศึกษาอยู่ในตำบลเมืองเพีย อำเภอบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น เป็นพื้นที่ซึ่งได้รับอิทธิพลของเกลือ 3 ระดับ คือระดับสูงมาก (class 1) ระดับสูง (class 2) และ ระดับปานกลาง (class 3) แต่ละระดับเลือกพื้นที่ศึกษา 2 แห่ง รวมเป็นพื้นที่ทั้งสิ้น 6 แห่ง ทำการเก็บตัวอย่างดินแต่ละแห่ง โดยใช้วิธีเก็บตัวอย่างแบบสุ่มในกริดขนาด 5x5 ตร.ม. ในพื้นที่ขนาด 50x50 ตร.ม. วิเคราะห์ค่าการนำไฟฟ้าของสารละลายที่สกัดจากดินอิ่มตัวด้วยน้ำ ในห้องปฏิบัติการ และวิเคราะห์ ธรณีสถิติโดยใช้เซมิแวริโอแกรมเพื่อศึกษาสหสัมพันธ์เชิงพื้นที่ของค่าคุณสมบัติทางเคมีดังกล่าวซึ่งจะนำไปใช้กำหนดระยะห่างที่เหมาะสมสำหรับการเก็บตัวอย่างดินต่อไป ผลการศึกษาพบว่า ดินภายใต้อิทธิพลของเกลือมีความแปรปรวนสูงมากในพื้นที่ทุกระดับความรุนแรง และความแปรปรวนนี้ยังอาจแตกต่างกันแม้ในพื้นที่ซึ่งจัดอยู่ใน class เดียวกัน ดังนั้นระยะห่างที่เหมาะสมสำหรับการเก็บตัวอย่างดินในพื้นที่เหล่านี้จึงค่อนข้างแคบและอาจแตกต่างกันไปบ้าง พื้นที่ class 1 มีความเป็นไปได้ตั้งแต่ 3 เมตรจนถึง 25 เมตร class 2 มีความเป็นไปได้ 13 เมตรจนถึง 18 เมตร และ class 3 มีความเป็นไปได้ตั้งแต่ 4 เมตรจนถึง 15 เมตร  
     คำสำคัญ ค่าการนำไฟฟ้า, ดินภายใต้อิทธิพลของเกลือ, สหสัมพันธ์เชิงพื้นที่, เซมิแวริโอแกรม 
ผู้เขียน
537030026-1 น.ส. พรทิพย์ โพนตุแสง [ผู้เขียนหลัก]
คณะเกษตรศาสตร์ ปริญญาเอก ภาคปกติ

การประเมินบทความ มีผู้ประเมินอิสระ 
สถานภาพการเผยแพร่ ตีพิมพ์แล้ว 
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
citation ไม่มี 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
แนบไฟล์
Citation 0