2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความที่เผยแพร่ ผลของวัสดุประสานต่อคุณภาพของการพอกและเมล็ดพันธุ์ผักกาดหอม 
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ 21 มิถุนายน 2559 
การประชุม
     ชื่อการประชุม การประชุมวิชาการเมล็ดพันธุ์พืชแห่งชาติ ครั้งที่ 13 
     หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม สมาคมเมล็ดพันธุ์พืชแห่งชาติ 
     สถานที่จัดประชุม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสุรินทร์ 
     จังหวัด/รัฐ สุรินทร์ 
     ช่วงวันที่จัดประชุม 21 มิถุนายน 2559 
     ถึง 25 มิถุนายน 2559 
Proceeding Paper
     Volume (ปีที่) 13 
     Issue (เล่มที่)
     หน้าที่พิมพ์ 43-53 
     Editors/edition/publisher  
     บทคัดย่อ วัสดุประสานเป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่จะทำให้การพอกเมล็ดพันธุ์ประสบความสำเร็จได้ งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อค้นหาชนิดและอัตราส่วนของวัสดุประสานที่เหมาะสมสำหรับการพอกเมล็ดพันธุ์ผักกาดหอม โดยทดลองที่อาคารโรงงานปรับปรุงสภาพเมล็ดพันธุ์ คณะเกษตรศาสตร์ และห้องปฏิบัติการเทคโนโลยีเภสัชกรรม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ใช้วัสดุประสาน 3 ชนิด คือ methyhydroxy ethylcellulose (MHEC), hydroxylpropyl methylcellulose (HPMC) อัตรา 0.3 และ 0.5 กรัม และ polyvinyl pyrrolidone (PVP-K90) อัตรา 4 และ 5 กรัม และใช้ Calcium sulfate เป็นวัสดุพอก ต่อเมล็ดพันธุ์ผักกาดหอม 10 กรัม โดยตรวจสอบคุณสมบัติของวัสดุประสาน ลักษณะทางกายภาพของก้อนพอก และคุณภาพเมล็ดพันธุ์หลังการพอก ซึ่งจากการทดลองพบว่า MHEC, HPMC และ PVP-K90 มีค่าความเป็นกรด-ด่างอยู่ในช่วง 7-7.8 และมีค่าความหนืดอยู่ระหว่าง 11-16 เมตร/วินาที แผ่นฟิล์มของ MHEC และ HPMC มีการละลายน้ำได้ดีกว่า PVP-K90 ส่วนคุณสมบัติทางด้านกายภาพของก้อนพอกพบว่า เมล็ดพันธุ์ผักกาดหอมที่ใช้ MHEC เป็นวัสดุประสานทำให้ก้อนพอกมีการละลายน้ำได้ดีกว่าวัสดุประสานชนิดอื่นๆ จากการตรวจสอบความงอกของเมล็ดพันธุ์หลังการพอกพบว่า การใช้ MHEC เป็นวัสดุประสานทำให้เมล็ดพันธุ์มีความงอกและความเร็วในการงอกของเมล็ดพันธุ์ดีที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับวิธีการอื่นๆ ทั้งการตรวจสอบในสภาพห้องปฏิบัติการและสภาพเรือนทดลอง 
ผู้เขียน
585030060-2 น.ส. ศศิประภา บัวแก้ว [ผู้เขียนหลัก]
คณะเกษตรศาสตร์ ปริญญาโท ภาคปกติ

การประเมินบทความ (Peer Review) มีผู้ประเมินอิสระ 
มีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
รูปแบบ Proceeding Full paper 
รูปแบบการนำเสนอ Oral 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล ไม่ได้รับรางวัล 
แนบไฟล์
Citation 0