2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความที่เผยแพร่ ชนิดของสารพอกต่อคุณภาพเมล็ดพันธุ์มะเขือเทศลูกผสม 
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ 21 มิถุนายน 2559 
การประชุม
     ชื่อการประชุม การประชุมวิชาการเมล็ดพันธุ์พืชแห่งชาติ ครั้งที่ 13 
     หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม สมาคมเมล็ดพันธุ์แห่งประเทศไทย ร่วมกับ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน และกรมการข้าว 
     สถานที่จัดประชุม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสุรินทร์ 
     จังหวัด/รัฐ สุรินทร์ 
     ช่วงวันที่จัดประชุม 21 มิถุนายน 2559 
     ถึง 25 มิถุนายน 2559 
Proceeding Paper
     Volume (ปีที่) 13 
     Issue (เล่มที่)
     หน้าที่พิมพ์ 33-42 
     Editors/edition/publisher คณะกรรมการการจัดการประชุมทางวิชาการเมล็ดพันธุ์พืชแห่งชาติ ครั้งที่ 13 
     บทคัดย่อ การพอกเมล็ดพันธุ์เป็นวิธีการที่ทำให้เมล็ดมีการเปลี่ยนแปลงรูปร่าง และขนาดให้มีความเหมาะสมต่อการเพาะปลูก ซึ่ง วัสดุพอกเป็นส่วนประกอบสำคัญที่จะทำให้การพอกเมล็ดพันธุ์ประสบความสำเร็จได้ งานวิจัยนี้จึงค้นหาชนิดและอัตราของวัสดุพอกที่เหมาะสมกับเมล็ดพันธุ์มะเขือเทศ ดำเนินการทดลอง ณ ห้องปฏิบัติการวิทยาการเมล็ดพันธุ์ อาคารโรงงานปรับปรุงสภาพเมล็ดพันธุ์ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น วางแผนการทดลองแบบ CRD จำนวน 4 ซ้ำ มีวิธีการพอกเมล็ดทั้งหมด 4 กรรมวิธี คือ T1) การพอกเมล็ดด้วย pumice อัตรา 120 กรัม, T2) การพอกเมล็ดด้วย talcum อัตรา 60 กรัม ร่วมกับ pumice อัตรา 50 กรัม, T3) การพอกเมล็ดด้วย Calcium carbonate อัตรา 80 กรัม ร่วมกับ pumice อัตรา 50 กรัม, T4) การพอกเมล็ดด้วย Calcium sulphate อัตรา 80 กรัม ร่วมกับ pumice อัตรา 50 กรัม ตามลำดับ ต่อน้ำหนักเมล็ดพันธุ์ 20 กรัม โดยใช้ hydroxylpropyl methylcellulose (HPMC) ความเข้มข้น 0.6 เปอร์เซ็นต์โดยน้ำหนักเป็นวัสดุประสาน จากการตรวจสอบด้านกายภาพของก้อนพอก พบว่าเมล็ดพันธุ์ที่พอกด้วยกรรมวิธี T3 สามารถ ขึ้นรูปก้อนพอกได้ง่าย มีการยึดเกาะของวัสดุที่ดี มีความสม่ำเสมอ ลักษณะผิวเรียบเนียน และสามารถละลายน้ำได้รวดเร็ว และการตรวจสอบด้านคุณภาพ พบว่าเมล็ดพันธุ์ที่พอกด้วยกรรมวิธี T3 มีความงอกสูงที่สุด และมีความเร็วในการงอกมากกว่าเมล็ดพันธุ์ที่ผ่านการพอกด้วยกรรมวิธีอื่นๆ เมื่อตรวจสอบในสภาพห้องปฏิบัติการและสภาพเรือนทดลอง คำสำคัญ: การพอกเมล็ดพันธุ์ การยกระดับคุณภาพเมล็ดพันธุ์ วัสดุพอก วัสดุประสาน  
ผู้เขียน
575030079-0 น.ส. วัชลาวลี ทองจันทร์ [ผู้เขียนหลัก]
คณะเกษตรศาสตร์ ปริญญาโท ภาคปกติ

การประเมินบทความ (Peer Review) มีผู้ประเมินอิสระ 
มีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
รูปแบบ Proceeding Full paper 
รูปแบบการนำเสนอ Oral 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล ไม่ได้รับรางวัล 
แนบไฟล์
Citation 0