2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความ ผลของโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพโดยการใช้ความรู้ด้านการแพทย์แผนไทยในการป้องกันโรคเบาหวานของกลุ่มเสี่ยงสูง ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโนนเพ็ก อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม EFFECTS OF HEALTH BEHAVIOR MODIFICATION PROGRAM BY APPLICATION OF SELF EFFICACY THEORY AND THAI TRADITIONAL MEDICINE KNOWLEDGE FOR DIABETES PREVENTION AMONG HIGH RISK GROUP IN DISTRICT HOSPITAL HEALTH PROMOTION BAN NON PEK MUANG MAHASARAKHAM, MAHASARAKHAM PROVINE 
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ 22 สิงหาคม 2559 
วารสาร
     ชื่อวารสาร วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ Research and Development Health System Journal สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาฬสินธุ์ 
     มาตรฐานของวารสาร TCI 
     หน่วยงานเจ้าของวารสาร กลุ่มงานพัฒนายุทธศาสตร สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาฬสินธุ์ 
     ISBN/ISSN  
     ปีที่ 10 
     ฉบับที่
     เดือน มกราคม - เมษายน
     ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ 2559 
     หน้า  
     บทคัดย่อ ปัจจุบันประชาชนมีแนวโน้มเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรังมากขึ้น และโรคเป็นปัญหาที่สำคัญของสาธารณสุขในระดับโลก คือโรคเบาหวาน ผู้วิจัยจึงได้ศึกษาผลของโปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพโดยการประยุกต์ทฤษฎีความสามารถตนเองร่วมกับความรู้ด้านการแพทย์แผนไทยในการป้องกันโรคเบาหวานของกลุ่มเสี่ยงสูง เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง โดยแบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบ กลุ่มละ 40 คน ซึ่งกลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพโดยการประยุกต์ทฤษฎีความสามารถตนเองร่วมกับความรู้ด้านการแพทย์แผนไทย ประกอบด้วยกิจกรรมต่าง ๆ เช่น การบรรยาย การฝึกปฏิบัติจริงตามคู่มือ และการบันทึกพฤติกรรมสุขภาพในสมุดบันทึก (Diary) มีบุคคลต้นแบบในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในทางที่ดี และกระตุ้นเตือนโดยการเยี่ยมบ้านจากผู้วิจัยและทีม เป็นระยะเวลา 10 สัปดาห์ รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูล ใช้สถิติเชิงพรรณนาในการวิเคราะห์ข้อมูลทั่วไป ด้วย ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสูงสุด ต่ำสุด การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเปรียบเทียบใช้สถิติ Independent t-test และ Paired samples t-test ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 ผลการศึกษาพบว่า ความรู้เรื่องโรคเบาหวานและความรู้ด้านการแพทย์แผนไทยของกลุ่มเสี่ยงสูงต่อโรคเบาหวานและความรู้ด้านการแพทย์แผนไทย หลังการทดลองมีค่าคะแนนเฉลี่ยสูงกว่าก่อนทดลอง และกลุ่มเปรียบเทียบ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < 0.001) ภาวะสุขภาพของระดับน้ำตาลในเลือดและค่าดัชนีมวลกาย หลังการทดลองมีค่าลดลงกว่าก่อนทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < 0.001) ความคาดหวังต่อผลลัพธ์และการปฏิบัติตัวในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพมากกว่ากลุ่มเปรียบเทียบ หลังการทดลองมีค่าคะแนนเฉลี่ยสูงกว่าก่อนทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < 0.05) ส่วนการรับรู้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพมากกว่าก่อนทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบ อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value > 0.05)  
     คำสำคัญ กลุ่มเสี่ยงสูงต่อโรคเบาหวาน, การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม, ความรู้ด้านการแพทย์แผนไทย 
ผู้เขียน
575110156-3 น.ส. ธิดาภรณ์ ใสโศก [ผู้เขียนหลัก]
คณะสาธารณสุขศาสตร์ ปริญญาโท โครงการพิเศษ

การประเมินบทความ มีผู้ประเมินอิสระ 
สถานภาพการเผยแพร่ ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ 
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
citation ไม่มี 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
แนบไฟล์
Citation 0