2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความที่เผยแพร่ ปัจจัยการย้ายถิ่นของแรงงานสตรีลาวในจังหวัดอุดรธานี 
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ 21 ตุลาคม 2559 
การประชุม
     ชื่อการประชุม การประชุมวิชาการระดับชาติ โครงการ CSD สัมพันธ์ครั้งที่ 15 การพัฒนาชุมชน สังคม ท้องถิ่น ภายใต้กระแสการเปลี่ยนแปลง 
     หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม หลักสูตการพัฒนาชุมชน 
     สถานที่จัดประชุม คณะมนุชยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม 
     จังหวัด/รัฐ ประเทศไทย 
     ช่วงวันที่จัดประชุม 30 มกราคม 2559 
     ถึง 31 มกราคม 2559 
Proceeding Paper
     Volume (ปีที่)
     Issue (เล่มที่)
     หน้าที่พิมพ์ 145-156 
     Editors/edition/publisher  
     บทคัดย่อ บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์เรื่อง “การสร้างเครือข่ายทางสังคมของแรงงานสตรีลาวย้ายถิ่นในจังหวัดอุดรธานีประเทศไทย” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงปัจจัยการย้ายถิ่นของแรงงานสตรีลาวย้ายถิ่นในจังหวัดอุดรธานี ประเทศไทย โดยใช้กรอบแนวคิดของ Lee Everette S (1966) สำหรับการวิจัยครั้งนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยในเชิงคุณภาพ (QualitativeMethods) จากวิธีการสัมภาษณ์แบบเชิงลึก การสังเกตแบบมีส่วนร่วมและไม่มีส่วนร่วม จากการกำหนดผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key Informants) ได้แก่ แรงงานสตรีลาวที่ขึ้นทะเบียนถูกต้องตามกฎหมายที่ย้ายถิ่นเข้ามาทำงานในประเทศไทย จำนวน 15 ราย โดยคัดเลือกผู้ให้ ข้อมูลสำคัญดังกล่าวด้วยวิธีบอกต่อ (Snowball Technique) ในพื้นที่จังหวัดอุดรธานีเพราะเห็นว่ามีความเหมาะสมในการใช้เพื่อนำมาศึกษาวิเคราะห์ให้เห็นถึงกระบวนการย้ายถิ่นทั้งก่อนและหลังการย้ายถิ่น บทความนี้เป็นการทบทวนวรรณกรรมเพื่อศึกษาบริบทการย้ายถิ่นของแรงงานสตรีลาวในจังหวัดอุดรธานี โดยมีอยู่ด้วยกัน 2 ปัจจัยคือ (1) ปัจจัยผลักดันจากประเทศที่แรงงานเคลื่อนย้ายออกได้แก่ ความยากจนและค่านิยมระดับค่าจ้างที่ต่ำกว่าเมื่อเทียบกับต่างประเทศ อัตราการวางงานอยู่ในระดับสูงการ ขาดสิ่งจูงใจสำหรับความก้าวหน้าในอาชีพ นโยบายกำลังคนที่ไม่เหมาะสม (2) ปัจจัยดึงดูดในประเทศที่แรงงานเคลื่อนย้ายเข้า ได้แก่ ระดับค่าจ้างและเงินเดือนที่สูงกว่าในประเทศบ้านเกิดของแรงงานค่านิยมและสิ่งจูงใจจากประเทศที่ต้องการย้ายไปทำงาน ความก้าวหน้าของอาชีพในการทำงาน ความสีวิไลและความสะดวกสบายในการทำงาน นอกจากนี้ระบบเครือญาติ และเพื่อนจากหมู่บ้านเดียวกันยังคงมีความสำคัญอย่างมากต่อการย้ายถิ่น  
ผู้เขียน
575080100-5 Mr. CHANTHALA VANHNAHONG [ผู้เขียนหลัก]
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ปริญญาโท ภาคปกติ

การประเมินบทความ (Peer Review) มีผู้ประเมินอิสระ 
มีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
รูปแบบ Proceeding Full paper 
รูปแบบการนำเสนอ Oral 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล ไม่ได้รับรางวัล 
แนบไฟล์
Citation 0