2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความที่เผยแพร่ ปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับเทคโนโลยีโดยชีววิธีควบคุมหนอนกออ้อย อำเภอพิมายจังหวัดนครราชสีมา  
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ 25 พฤษภาคม 2560 
การประชุม
     ชื่อการประชุม ความผันผวนของเศรษฐกิจโลกต่อความยั่งยืนของอาเซียน 
     หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง 
     สถานที่จัดประชุม คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง 
     จังหวัด/รัฐ กรุงเทพมหานคร 
     ช่วงวันที่จัดประชุม 25 พฤษภาคม 2560 
     ถึง 25 พฤษภาคม 2560 
Proceeding Paper
     Volume (ปีที่)
     Issue (เล่มที่)
     หน้าที่พิมพ์ (1-71) - ( 1-85) 
     Editors/edition/publisher วารสารเศรษฐศาสตร์รามคำแหง 
     บทคัดย่อ วัตถุประสงค์ในการศึกษานี้เพื่อ1.ศึกษาความสัมพันธ์ของปัจจัยต่อการใช้ชีววิธีของเกษตรกรและ 2.เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับเทคโนโลยีชีววิธีควบคุมหนอนกออ้อยของเกษตรกรในตำบล หนองระเวียง อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา ใช้ข้อมูลปฐมภูมิจากการเก็บแบบสอบถาม 140 ตัวอย่าง โดยแบ่งเป็นเกษตรกรที่ใช้ชีววิธีควบคุมหนอนกออ้อย 98 ตัวอย่าง และเกษตรกรที่ใช้สารเคมีควบคุมหนอน กออ้อย 42 ตัวอย่าง ใช้การทดสอบไคสแควร์เพื่อทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยกับการใช้ชีววิธีและใช้ สมการถดถอยโลจิสติกแบบสองทางเลือก (Binary logistic regression model) เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่ ส่งผลต่อการเพิ่มโอกาสในการใช้ชีววิธี ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยที่เพิ่มโอกาสในการใช้ชีววิธีมากที่สุดคือ ความรู้ด้านนิเวศเกษตร ความวิตกกังวลเรื่องผลกระทบจากการใช้สารเคมีและประสบการณ์ในการปลูก อ้อย ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการใช้ชีววิธีได้แก่ เจ้าหน้าที่จัดอบรม จำนวนการเข้าอบรมในหนึ่งปี การ ตระหนักรู้ถึงอันตรายจากการใช้สารเคมี ความวิตกกังวลอันตรายจากการใช้สารเคมี ความรู้เกี่ยวกับชีววิธี กับระบบนิเวศเกษตร ดังนั้นควรจัดให้มีเจ้าหน้าที่ให้เพียงพอ ใช้สถานีวิทยุกระจายเสียง เพื่อเพิ่มช่องทาง ติดต่อและแหล่งเรียนรู้เพื่อให้ความรู้แสดงให้เห็นถึงความสำคัญของการรักษาระบบนิเวศน์ในแปลงเกษตร และชี้ให้เห็นถึงอันตรายจากการใช้สารเคมีที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพมนุษย์และสิ่งแวดล้อมโดยเปลี่ยนมาใช้ ชีววิธีแทนการใช้สารเคมีควบคุมหนอนกออ้อยและที่สำคัญลดต้นทุนกำจัดหนอนกออ้อย 
ผู้เขียน
575210063-3 น.ส. ศุภลักษณ์ ยุพิน [ผู้เขียนหลัก]
คณะเศรษฐศาสตร์ ปริญญาโท โครงการพิเศษ

การประเมินบทความ (Peer Review) มีผู้ประเมินอิสระ 
มีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
รูปแบบ Proceeding Full paper 
รูปแบบการนำเสนอ Oral 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล ไม่ได้รับรางวัล 
แนบไฟล์
Citation 0