2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความที่เผยแพร่ ผลของปุ๋ยอินทรีย์น้ำต่อการงอกผักกาดหอมและผักกาดขาว 
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ 15 มกราคม 2559 
การประชุม
     ชื่อการประชุม การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยบัณฑิตศึกษา ระดับชาติและนานาชาติ 2559 
     หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     สถานที่จัดประชุม อาคารพจน์ สารสิน มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     จังหวัด/รัฐ ขอนแก่น 
     ช่วงวันที่จัดประชุม 15 มกราคม 2559 
     ถึง 15 มกราคม 2559 
Proceeding Paper
     Volume (ปีที่) 2559 
     Issue (เล่มที่)
     หน้าที่พิมพ์ 351-360 
     Editors/edition/publisher  
     บทคัดย่อ การศึกษาครั้งนี้ทำการผลิตปุ๋ยอินทรีย์น้ำจากวัสดุ คือ น้ำกากส่า, กากน้ำตาลและใบอ้อย ซึ่งผลิตได้ทั้งหมด 6 สูตร ดังนี้สูตรที่ 1 ผสมน้ำกากส่า และน้ำกรอง ในอัตราส่วน 1:0.25โดยน้ำหนัก,สูตรที่ 2 ผสมน้ำกากส่า, กากน้ำตาล และน้ำกรอง ในอัตราส่วน 1:0.1:0.25 โดยน้ำหนัก,สูตรที่ 3 ผสมน้ำกากส่า, ใบอ้อย และน้ำกรอง ในอัตราส่วน 1:0.1:0.25โดยน้ำหนัก,สูตรที่ 4 ผสมน้ำกากส่า, ใบอ้อย, กากน้ำตาลและน้ำกรอง ในอัตราส่วน 1:0.1:0.1:0.25โดยน้ำหนัก,สูตรที่ 5 ผสมน้ำกากส่า, ใบอ้อย และน้ำกรอง ในอัตราส่วน 1:0.25:0.25 โดยน้ำหนักและสูตรที่ 6 ผสมน้ำกากส่า, ใบอ้อย, กากน้ำตาลและน้ำกรอง ในอัตราส่วน 1: 0.25: 0.1: 0.25 โดยน้ำหนัก ได้ทำการวิเคราะห์ทางเคมี ดังนี้ ค่าความเป็นกรดด่างปุ๋ยอินทรีย์น้ำสูตร1,3,5 มีความเป็นกลางและปุ๋ยอินทรีย์สูตร2,4,6 มีความเป็นกรด,ค่าการนำไฟฟ้าของปุ๋ยอินทรีย์น้ำอยู่ในช่วง 25.03-29.93 dS/m ซึ่งเกินกำหนดมาตรฐานปุ๋ยอินทรีย์น้ำ และปริมาณธาตุอาหารพบว่าปริมาณโพแทสเซียมทั้งหมดของปุ๋ยอินทรีย์น้ำทั้ง6 สูตรอยู่ในช่วงมาตรฐานปุ๋ยอินทรีย์น้ำ และทางด้านปัจจัยทางจุลชีววิทยา พบว่า ปุ๋ยอินทรีย์น้ำทั้ง6สูตรมีจุลินทรีย์ส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืช ส่วนการวัดความสุกสมบูรณ์ของปุ๋ยอินทรีย์น้ำ พบว่าอัตราส่วนปุ๋ยอินทรีย์น้ำที่เหมาะสม คือ 1:100 และปุ๋ยอินทรีย์น้ำสูตรที่5 เหมาะสำหรับปลูกผักกาดหอม เนื่องจากค่าดัชนีการงอกและดัชนีความแข็งแรงของเมล็ดสูงที่สุด แตกต่างการอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ(p<0.01) ปุ๋ยอินทรีย์น้ำสูตรที่เหมาะสมสำหรับปลูกผักกาดขาวคือสูตรที่2และ3  
ผู้เขียน
575020046-1 น.ส. ธนภรณ์ พิบูลย์วัฒนวงษ์ [ผู้เขียนหลัก]
คณะวิทยาศาสตร์ ปริญญาโท ภาคปกติ

การประเมินบทความ (Peer Review) มีผู้ประเมินอิสระ 
มีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
รูปแบบ Proceeding Full paper 
รูปแบบการนำเสนอ Oral 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล ไม่ได้รับรางวัล 
แนบไฟล์
Citation 0