2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความ การเสริมน้ำมันมะพร้าวในอาหารต่อสมรรถนะการเจริญเติบโต คุณภาพซาก สัณฐานวิทยาของลำไส้ และจำนวนโอโอซิสต์เชื้อบิดในไก่เนื้อ 
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ 12 กรกฎาคม 2560 
วารสาร
     ชื่อวารสาร วารสารแก่นเกษตร 
     มาตรฐานของวารสาร TCI 
     หน่วยงานเจ้าของวารสาร คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     ISBN/ISSN  
     ปีที่ 46 
     ฉบับที่
     เดือน ม.ค.-มี.ค.2561
     ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ 2560 
     หน้า  
     บทคัดย่อ การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการเสริมน้ำมันมะพร้าวในอาหารไก่เนื้อต่อสมรรถนะ การเจริญเติบโต คุณภาพซาก สัณฐานวิทยาของลำไส้ และจำนวนโอโอซิสต์เชื้อบิด โดยใช้ไก่เนื้อสายพันธุ์ Cobb 500 คละเพศ อายุ 7 วัน จำนวน 360 ตัว วางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ แบ่งกลุ่มทดลองออกเป็น 5 กลุ่ม กลุ่มละ 3 ซ้ำ ซ้ำละ 24 ตัว โดยมีกลุ่มทดลองได้แก่ กลุ่มที่ 1 กลุ่มควบคุม (C) กลุ่มที่ 2 กลุ่มควบคุมที่เสริมยากันบิด (Salinomycin 0.05%; CS) กลุ่มที่ 3 กลุ่มที่เสริมน้ำมันมะพร้าว 1% (CO1) กลุ่มที่ 4 กลุ่มที่เสริมน้ำมันมะพร้าว 2% (CO2) และกลุ่มที่ 5 กลุ่มที่เสริมน้ำมันมะพร้าว 3% (CO3) จากการศึกษาพบว่า ในไก่เนื้อช่วงอายุ 7-21 วัน กลุ่มที่เสริมน้ำมันมะพร้าว 2% มีอัตราการแลกเนื้อดีกว่า (FCR) กลุ่มที่เสริมยากันบิด และกลุ่มที่เสริมน้ำมันมะพร้าว 1% (1.36, 1.57 และ 1.62 ตามลำดับ; P<0.05) ขณะที่กลุ่มที่เสริมน้ำมันมะพร้าว 1%, 2% และ 3% ในช่วงอายุ 21-49 วัน และช่วงอายุ 7-49 วัน มีสมรรถนะ การเจริญเติบโตและคุณภาพซากทุกกลุ่มการทดลองไม่แตกต่างกัน (P>0.05) ผลต่อลักษณะสัณฐานวิทยาของลำไส้เล็ก พบว่า ไก่เนื้อกลุ่มที่เสริมน้ำมันมะพร้าว 2% มีสัดส่วนความสูงของวิลไลต่อความลึกของคริปท์ (Villi/Crypt ratio) ในลำไส้เล็กส่วนของดูโอดินัมและไอเลียม (4.71 และ 6.34 µm) สูงกว่ากลุ่มควบคุม (3.17 และ 4.02 µm) (P<0.05) ส่วนผลต่อจำนวนโอโอซิสต์เชื้อบิด พบว่า กลุ่มที่เสริมยากันบิดมีจำนวนโอโอซิสต์เชื้อบิดต่ำกว่าทุกกลุ่มการทดลอง ในลำไส้เล็กส่วนไอเลียม (P<0.05) นอกจากนี้จำนวนโอโอซิสต์เชื้อบิดในไส้ติ่งของกลุ่มที่เสริมน้ำมันมะพร้าว 1% มีแนวโน้มต่ำกว่ากลุ่มควบคุม (P>0.05) จากผลการทดลองสรุปได้ว่าการเสริมน้ำมันมะพร้าวในอาหารที่ระดับ 2% เป็นระดับที่ส่งผลดีต่อสมรรถนะการเจริญเติบโตในช่วงอายุ 7-21 วัน มีสัณฐานวิทยาของลำไส้เล็กให้ดีกว่ากลุ่มควบคุม และกลุ่มที่เสริมน้ำมันมะพร้าว 1% มีแนวโน้มลดจำนวนโอโอซิสต์เชื้อบิดในไส้ติ่งของไก่เนื้อ ทั้งนี้การเสริมน้ำมันมะพร้าวทุกระดับไม่ส่งผลเสียต่อคุณภาพซาก 
     คำสำคัญ น้ำมันมะพร้าว, สมรรถนะการเจริญเติบโต, คุณภาพซาก, โอโอซิสต์เชื้อบิด, ไก่เนื้อ 
ผู้เขียน
575030081-3 น.ส. ชญาณ์นันท์ ปักกัง [ผู้เขียนหลัก]
คณะเกษตรศาสตร์ ปริญญาโท ภาคปกติ
575030083-9 นาย พัสกร พุทธฉายา
คณะเกษตรศาสตร์ ปริญญาโท ภาคปกติ

การประเมินบทความ มีผู้ประเมินอิสระ 
สถานภาพการเผยแพร่ ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ 
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
citation ไม่มี 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
แนบไฟล์
Citation 0