2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความ การพัฒนาตัวบงชี้คุณภาพของศูนยพัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองคกรปกครองสวนท้องถิ่น  
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ 18 สิงหาคม 2560 
วารสาร
     ชื่อวารสาร วารสารบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     มาตรฐานของวารสาร TCI 
     หน่วยงานเจ้าของวารสาร สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแกน  
     ISBN/ISSN 1686-6916 
     ปีที่ 13 
     ฉบับที่
     เดือน กรกฎาคม - ธันวาคม
     ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ 2560 
     หน้า
     บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาตัวบ่งชี้คุณภาพของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 2) ทดสอบความสอดคล้องของโมเดลการประเมินคุณภาพของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ที่พัฒนาขึ้นกับข้อมูลเชิงประจักษ์ 3) พัฒนาแนวทางการพัฒนาคุณภาพของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้วิจัยใช้วิธีวิจัยแบบผสมผสาน โดยแบ่งการดำเนินการวิจัยออกเป็น 2 ระยะ ระยะแรกเป็นการพัฒนาและตรวจสอบความตรงของโมเดลการวัดตัวบ่งชี้คุณภาพของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ 7 คน และตรวจสอบความสอดคล้องโมเดลการวัดตัวบ่งชี้คุณภาพของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ด้วยกลุ่มตัวอย่างคือ นายกองค์การบริหารส่วนตำบล/นายกเทศมนตรี หัวหน้าศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและครู/ผู้ดูแลเด็ก อย่างละ 1 คน จากศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 358 แห่ง ระยะที่ 2 การจัดทำแนวทางการพัฒนาคุณภาพของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นด้วยเทคนิค MACR โดยผู้เชี่ยวชาญจำนวน 10 คน ผลการวิจัยพบว่า ในระยะแรกได้ 1) ตัวบ่งชี้คุณภาพของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีค่าเฉลี่ยและค่าสัมประสิทธิ์การกระจายเพื่อคัดสรรไว้ในโมเดลการวัดตัวบ่งชี้คุณภาพของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่เหมาะสมตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ และ 2) โมเดลการวัดตัวบ่งชี้คุณภาพของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่พัฒนาขึ้นมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ และองค์ประกอบหลักองค์ประกอบย่อยและตัวบ่งชี้มีค่าน้ำหนักองค์ประกอบสูงกว่าเกณฑ์ทุกองค์ประกอบ ผลการวิจัยในระยะที่ 2 ได้แนวทางการพัฒนาคุณภาพของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ทั้ง 3 ด้านประกอบด้วยองค์ประกอบ ตัวบ่งชี้และวิธีการ 1) ด้านผลการจัดการศึกษาปฐมวัย 2) ด้านหลักสูตรและการจัดกระบวนการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมพัฒนาการเด็ก 3) ด้านการบริหารจัดการศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก นอกจากนี้ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กยังเป็นแหล่งเรียนรู้ด้านการศึกษาแก่ชุมชน การจัดระบบข้อมูลสารสนเทศอย่างครอบคลุมและทันต่อการใช้งาน และกำหนดอัตราส่วนจํานวนผู้เรียนต่อห้องเรียนได้ตรงกับความพร้อมของทรัพยากร  
     คำสำคัญ การพัฒนาตัวบ่งชี้คุณภาพ, ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก, องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 
ผู้เขียน
567050036-9 น.ส. จีรนันท์ วัชรกุล [ผู้เขียนหลัก]
คณะศึกษาศาสตร์ ปริญญาเอก โครงการพิเศษ

การประเมินบทความ มีผู้ประเมินอิสระ 
สถานภาพการเผยแพร่ ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ 
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
citation มี 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
แนบไฟล์
Citation 0