2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความ ความชุกของการเกิดอุบัติเหตุและปัญหาสุขภาพในผู้สูงอายุ ตำบลปากน้ำ อำเภอเมืองสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ 
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ 15 สิงหาคม 2560 
วารสาร
     ชื่อวารสาร วารสารวิชาการสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น 
     มาตรฐานของวารสาร TCI 
     หน่วยงานเจ้าของวารสาร สำนักงานป้องกันและควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น 
     ISBN/ISSN  
     ปีที่ 25 
     ฉบับที่
     เดือน พฤษภาคม ถึง สิงหาคม
     ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ 2561 
     หน้า  
     บทคัดย่อ การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงวิเคราะห์แบบภาคตัดขวาง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความชุกของการเกิดอุบัติเหตุ และปัญหาสุขภาพในผู้สูงอายุ ตำบลปากน้ำ อำเภอเมืองสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้สูงอายุที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป จำนวน 486 คน แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ สมาชิกชมรมผู้สูงอายุโรงพยาบาลสมุทรปราการ จำนวน 162 คน กับไม่เป็นสมาชิกชมรมผู้สูงอายุ จำนวน 324 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่ำต่ำสุด ค่าสูงสุด และสถิติอนุมาน สำหรับวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดอุบัติเหตุใช้สถิติถดถอยพหุโลจิสติก (Multiple logistic regression) นำเสนอค่า Odd ratio และช่วงเชื่อมั่น 95% กำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 ผลการวิจัย พบว่า ความชุกของการเกิดอุบัติเหตุ ในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา คิดเป็นร้อยละ 63.37 โดยพบความชุกในสมาชิกชมรมผู้สูงอายุ ร้อยละ 58.64 และไม่เป็นสมาชิกชมรมผู้สูงอายุ ร้อยละ 65.74 ส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุตอนกลาง (70-79 ปี) ร้อยละ 47.40 อุบัติเหตุที่พบ 3 อันดับแรก ได้แก่ การพลัดตก/หกล้ม สัมผัสถูกแรงกระแทก/ชน และสัมผัสความร้อน/ของร้อน ร้อยละ 49.18 , 26.95 และร้อยละ 25.72 ตามลำดับ ซึ่งเกิดอุบัติเหตุภายในบ้านมากที่สุด ร้อยละ 54.12 ผลการวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดอุบัติเหตุ คราวละหลายปัจจัย พบว่า สถานภาพการเป็นสมาชิกชมรม อายุ ลักษณะบ้าน แสงสว่างภายในบ้าน ราวบันได และการมีประวัติเคยเกือบเกิดอุบัติเหตุ มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value <0.05) กล่าวคือ ผู้สูงอายุที่ไม่เป็นสมาชิกชมรมเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ มากกว่าผู้สูงอายุที่เป็นสมาชิกชมรม 1.73 เท่า (95%CI = 1.08 - 2.76) นอกจากนี้ปัญหาสุขภาพของผู้สูงอายุ พบว่า ส่วนใหญ่มีดัชนีมวลกายเกินเกณฑ์ ร้อยละ 34.16 มีโรคประจำตัว ร้อยละ 77.57 โรคที่พบ 3 อันดับแรก ได้แก่ โรคความดันโลหิตสูง โรคไขมันในเลือดสูง และโรคเบาหวาน ร้อยละ 77.72, 36.87 และร้อยละ 36.34 ตามลำดับและมีปัญหาเกี่ยวกับสายตา ร้อยละ 83.95 และการเคลื่อนไหว ร้อยละ 61.93 
     คำสำคัญ ความชุก อุบัติเหตุ ผู้สูงอายุ  
ผู้เขียน
575110126-2 น.ส. นพเก้า บัวงาม [ผู้เขียนหลัก]
คณะสาธารณสุขศาสตร์ ปริญญาโท โครงการพิเศษ

การประเมินบทความ มีผู้ประเมินอิสระ 
สถานภาพการเผยแพร่ ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ 
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
citation มี 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
แนบไฟล์
Citation 0