2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความ การประเมินลักษณะกลุ่มอาการอัพเปอร์ครอสในนักศึกษาคณะทันตแพทยศาสตร์  
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ 9 สิงหาคม 2560 
วารสาร
     ชื่อวารสาร Journal of Associated Medical Sciences  
     มาตรฐานของวารสาร TCI 
     หน่วยงานเจ้าของวารสาร Faculty of Associated Medical Sciences Chiang Mai University 
     ISBN/ISSN  
     ปีที่  
     ฉบับที่  
     เดือน
     ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ 2560 
     หน้า  
     บทคัดย่อ ที่มาและความสำคัญ: ลักษณะท่าทางการทำงานของนักศึกษาทันตแพทย์ในปฏิบัติการหัตถการช่องปากมีลักษณะก้มลำตัวและใช้แขนทั้งสองด้านในการใช้เครื่องมือที่เกี่ยวข้องเป็นระยะเวลานาน ทำให้มีความเสี่ยงต่อการเกิดอาการปวดคอ บ่า ไหล่ และหลังส่วนบนได้ และเมื่อเกิดขึ้นเป็นระยะเวลานานอาจทำให้เกิดภาวะการทำงานไม่สมดุลของกล้ามเนื้อ นำไปสู่การเกิดกลุ่มอาการอัพเปอร์ครอส คือ ภาวะหดสั้นของกลุ่มกล้ามเนื้อหน้าอกและกลุ่มกล้ามเนื้อเหยียดศีรษะร่วมกับภาวะอ่อนแรงของกลุ่มกล้ามเนื้อก้มศีรษะและกลุ่มกล้ามเนื้อรอบกระดูกสะบัก วัตถุประสงค์: เพื่อประเมินความยาวกลุ่มกล้ามเนื้อเหยียดศีรษะและกลุ่มกล้ามเนื้อหน้าอกร่วมกับประเมินความแข็งแรงของกลุ่มกล้ามเนื้อก้มศีรษะและกลุ่มกล้ามเนื้อรอบกระดูกสะบัก ในนักศึกษาคณะทันตแพทยศาสตร์ วัสดุและวิธีการศึกษา: การศึกษาแบบภาคตัดขวางศึกษาในนักศึกษาคณะทันตแพทยศาสตร์ชั้นปีที่ 1-6มหาวิทยาลัยขอนแก่น จำนวน 220 คน โดยผ่านการตรวจประเมินร่างกาย ได้แก่ ความยาวกลุ่มกล้ามเนื้อเหยียดศีรษะทดสอบด้วยมุมของศีรษะและคอ (craniovertebral angle: CV angle) การประเมินความยาวของกลุ่มกล้ามเนื้อหน้าอกด้วยการทดสอบ pectoralis minor length การประเมินความแข็งแรงของกลุ่มกล้ามเนื้อก้มศีรษะทดสอบด้วยการเก็บคาง (craniocervical flexion test) และการประเมินความแข็งแรงของกลุ่มกล้ามเนื้อรอบกระดูกสะบักทดสอบด้วยเครื่องวัดกำลังกล้ามเนื้อ (Hand held dynamometer: HHD) ผลการศึกษา: พบว่ามุมของศีรษะและคอมีค่าเฉลี่ย 50.76±6.99 องศา การวัดความยาวกล้ามเนื้อหน้าอกด้วยการทดสอบ pectoralis minor length ข้างขวามีค่าเฉลี่ย 5.44±1.29 เซนติเมตร และข้างซ้าย 5.46±2.14 เซนติเมตร ความแข็งแรงของกลุ่มกล้ามเนื้อก้มศีรษะมีค่าเฉลี่ย 28.55±2.29 มิลลิเมตรปรอท ความแข็งแรงของกลุ่มกล้ามเนื้อรอบกระดูกสะบักได้แก่ 1) กล้ามเนื้อ serratus anterior ข้างขวามีค่าเฉลี่ย 7.99±2.08 กิโลกรัม และข้างซ้าย 7.77±2.19 กิโลกรัม 2) กล้ามเนื้อ rhomboid ข้างขวาค่าเฉลี่ย 10.03±2.83 กิโลกรัม และข้างซ้าย 9.86±2.79 กิโลกรัม 3) กล้ามเนื้อ middle trapezius ข้างขวาค่าเฉลี่ย 12.79±2.57 กิโลกรัม และข้างซ้าย 12.66±2.55 กิโลกรัม 4) กล้ามเนื้อ lower trapezius ข้างขวาค่าเฉลี่ย 12.43±2.41 กิโลกรัม และข้างซ้าย 12.58±2.39 กิโลกรัม สรุปผลการศึกษา: นักศึกษาคณะทันตแพทยศาสตร์มีแนวโน้มของการเกิดภาวะหดสั้นของกลุ่มกล้ามเนื้อเหยียดศีรษะและกลุ่มกล้ามเนื้อหน้าอกสูง ส่วนความแข็งแรงกลุ่มกล้ามเนื้อก้มศีรษะและกลุ่มกล้ามเนื้อรอบกระดูกสะบักอยู่ในเกณฑ์ปกติ  
     คำสำคัญ กลุ่มอาการอัพเปอร์ครอส ภาวะการทำงานไม่สมดุลของกล้ามเนื้อ นักศึกษาทันตแพทย์ 
ผู้เขียน
585090030-5 น.ส. ธนาภรณ์ ศรีเจษฎารักข์ [ผู้เขียนหลัก]
คณะเทคนิคการแพทย์ ปริญญาโท ภาคปกติ

การประเมินบทความ มีผู้ประเมินอิสระ 
สถานภาพการเผยแพร่ ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ 
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
citation ไม่มี 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
แนบไฟล์
Citation 0