2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความที่เผยแพร่ แนวทางการเพิ่มยอดขายลูกโป่ง ร้านบอลลูนสตูดิโอ อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา 
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ 23 กันยายน 2560 
การประชุม
     ชื่อการประชุม งานประชุมวิชาการทางธุรกิจและนวัตกรรมทางการจัดการ ระดับชาติและนานาชาติ ประจำปี 2560 
     หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม วิทยาลัยบัณฑิตศึกษาการจัดการ (MBA) มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     สถานที่จัดประชุม อาคารสุนทร-อารยา อรุณานนท์ชัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     จังหวัด/รัฐ  
     ช่วงวันที่จัดประชุม 23 กันยายน 2560 
     ถึง 24 กันยายน 2560 
Proceeding Paper
     Volume (ปีที่)
     Issue (เล่มที่)
     หน้าที่พิมพ์ 733-739 
     Editors/edition/publisher  
     บทคัดย่อ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาพฤติกรรมการซื้อลูกโป่งและปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อลูกโป่งของผู้บริโภคในเขตอำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา และ 2) เสนอแนวทางการขายลูกโป่ง ร้านบอลลูนสตูดิโอ อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา กลุ่มตัวอย่าง คือ ประชาชนในเขตอำเภอเมืองนครราชสีมา จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ แบบสอบถาม ร่วมกับวิเคราะห์ร่วมกับสภาพแวดล้อมทั่วไป สภาพการแข่งขันของธุรกิจ การวิเคราะห์สถานการณ์ตลาด และกำหนดกลยุทธ์ทางเลือกโดยใช้ตาราง TOWS Matrix สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษา พบว่า ร้อยละ 65.75 ของกลุ่มตัวอย่างการเคยซื้อและใช้บริการเกี่ยวกับลูกโป่ง โดยซื้อจากร้านที่มีลูกโป่งหลายแบบให้เลือก ราคาถูก และร้านอยู่ใกล้บ้าน/ที่ทำงาน ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อลูกโป่งในระดับสำคัญมากที่สุด ได้แก่ ด้านราคา ด้านการส่งเสริมการตลาด ด้านพนักงาน และมีความคิดเห็นระดับสำคัญมาก คือ ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย ด้านกระบวนการ และด้านลักษณะทางกายภาพ โดยมีแนวทางการเพิ่มยอดขายลูกโป่ง ร้านบอลลูนสตูดิโอ จำนวน 5 โครงการ ได้แก่ โครงการที่ 1 สร้างมืออาชีพทำลูกโป่ง โครงการที่ 2 ลูกโป่งสุดชิค ทุกเทศกาล!!! โครงการที่ 3 กดไลค์+แชร์+เช็คอิน เอาไปเลย โครงการที่ 4 ลูกโป่งปลอดภัย และโครงการที่ 5 อีเวนท์สร้างสุข  
ผู้เขียน
585740357-4 น.ส. กมลวรรณ เคารพาพงค์ [ผู้เขียนหลัก]
วิทยาลัยบัณฑิตศึกษาการจัดการ ปริญญาโท โครงการพิเศษ

การประเมินบทความ (Peer Review) มีผู้ประเมินอิสระ 
มีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
รูปแบบ Proceeding Full paper 
รูปแบบการนำเสนอ Oral 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล ไม่ได้รับรางวัล 
แนบไฟล์
Citation 0