2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความที่เผยแพร่ ค่าความทนแรงเฉือนระดับจุลภาคของการเตรียมพื้นผิวคอมโพเนียร์บริลเลียนท์ด้วยวิธีต่างๆ (Micro-Shear Bond Strength of Componeer Brilliant in Different Surface Treatments.) 
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ 19 ตุลาคม 2560 
การประชุม
     ชื่อการประชุม การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษาแห่งชาติ ครั้งที่ 44 
     หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี 
     สถานที่จัดประชุม โรงแรม U-PLACE มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี 
     จังหวัด/รัฐ อุบลราชธานี 
     ช่วงวันที่จัดประชุม 19 ตุลาคม 2560 
     ถึง 20 ตุลาคม 2560 
Proceeding Paper
     Volume (ปีที่) 2560 
     Issue (เล่มที่)
     หน้าที่พิมพ์ 434-442 
     Editors/edition/publisher  
     บทคัดย่อ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบค่าความทนแรงเฉือนระดับจุลภาคในการยึดอยู่ระหว่างคอมโพเนียร์บริลเลียนท์กับเรซินคอมโพสิตหลังเตรียมพื้นผิวคอมโพเนียร์บริลเลียนท์ด้วยวิธีที่แตกต่างกัน โดยแบ่งชิ้นตัวอย่างทั้งหมด 90 ชิ้น เข้าสู่กลุ่มการทดลอง 6 กลุ่ม กลุ่มละ 15 ชิ้น ได้แก่ กลุ่มที่ไม่มีการเตรียมพื้นผิว(กลุ่มควบคุม) กลุ่มที่เตรียมพื้นผิวด้วยกรดฟอสฟอริก กลุ่มที่เตรียมพื้นผิวด้วยหัวกรอกากเพชร กลุ่มที่เตรียมพื้นผิวด้วยการเป่าทราย กลุ่มที่เตรียมพื้นผิวด้วยหัวกรอกากเพชรร่วมกับกรดฟอสฟอริก และกลุ่มที่เตรียมพื้นผิวด้วยการเป่าทรายร่วมกับกรดฟอสฟอริก จากนั้นนำเรซินคอมโพสิตยึดกับพื้นผิวของคอมโพเนียร์บริลเลียนท์หลังเตรียมพื้นผิวด้วยวิธีต่างๆ หลังจากทำให้เกิดพอลิเมอร์ไรเซชั่นนำชิ้นตัวอย่างไปเข้าเครื่องเทอร์โมไซคลิง 500 รอบและนำไปทดสอบค่าความทนแรงเฉือนระดับจุลภาคด้วยเครื่องทดสอบแรงสากล จากนั้นนำชิ้นตัวอย่างไปวิเคราะห์การแตกหักด้วยกล้องจุลทรรศน์แบบสเตอริโอกำลังขยาย 30 เท่า ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มที่เตรียมพื้นผิวด้วยการเป่าทรายร่วมกับกรดฟอสฟอริกให้ค่าแรงในการยึดอยู่สูงที่สุดคือ 19.91 ± 2.52 เมกะปาสคาล แตกต่างจากกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value <0.001) รองลงมาคือ กลุ่มที่เตรียมพื้นผิวด้วยหัวกรอกากเพชรร่วมกับกรดฟอสฟอริก กลุ่มที่เตรียมพื้นผิวด้วยการเป่าทราย กลุ่มที่เตรียมพื้นผิวด้วยหัวกรอกากเพชร และกลุ่มที่เตรียมพื้นผิวด้วยกรดฟอสฟอริกลดลงตามลำดับ ส่วนกลุ่มควบคุมให้ค่าแรงในการยึดอยู่ต่ำที่สุดคือ 14.82 ± 1.59 เมกะปาสคาล เมื่อวิเคราะห์การแตกหักหลังจากทดสอบค่าความทนแรงเฉือนระดับจุลภาค พบว่า การแตกหักส่วนใหญ่เกิดความล้มเหลวของการแตกหักของสารยึดติดคิดเป็นร้อยละ 53.33 
ผู้เขียน
585130007-9 นาย ปริญญา ทานะเวช [ผู้เขียนหลัก]
คณะทันตแพทยศาสตร์ ปริญญาโท ภาคปกติ

การประเมินบทความ (Peer Review) มีผู้ประเมินอิสระ 
มีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
รูปแบบ Proceeding Full paper 
รูปแบบการนำเสนอ Poster 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล ไม่ได้รับรางวัล 
แนบไฟล์
Citation 20