2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความที่เผยแพร่ การยอมรับมาตรฐานฟาร์มผึ้งของเกษตรกรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย 
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ 29 มกราคม 2561 
การประชุม
     ชื่อการประชุม งานประชุมวิชาการเกษตร ครั้งที่ 19 ประจำปี 2561 
     หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     สถานที่จัดประชุม คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     จังหวัด/รัฐ ขอนแก่น 
     ช่วงวันที่จัดประชุม 29 มกราคม 2561 
     ถึง 30 มกราคม 2561 
Proceeding Paper
     Volume (ปีที่) 46 
     Issue (เล่มที่) ฉบับพิเศษ 1 2561 
     หน้าที่พิมพ์ 146 
     Editors/edition/publisher  
     บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการยอมรับมาตรฐานฟาร์มผึ้งของเกษตรกรในภาค ตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย ผู้ให้ข้อมูล คือ เกษตรกรผู้เลี้ยงผึ้งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยที่ขึ้น ทะเบียนเป็นสมาชิกผู้เลี้ยงผึ้งกับกรมส่งเสริมการเกษตรตั้งแต่ปี พ.ศ.2557 จ􀄬ำนวน 96 ราย เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ ซึ่งสร้างขึ้นตามวัตถุประสงค์ของการวิจัย ผลการศึกษาพบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุเฉลี่ย 58.6 ปี จบการศึกษา ระดับปริญญาตรี มีประสบการณ์ในการเลี้ยงผึ้ง 4-6 ปี ส่วนใหญ่เป็นฟาร์มขนาดกลาง (จ􀄬ำนวนมากกว่า100รัง แต่ไม่เกิน 500 รัง) มีแรงงานครัวเรือนส􀄬ำหรับการเลี้ยงผึ้งเฉลี่ย 2.29 คน และมีแรงงานจ้างในการเลี้ยงผึ้งเฉลี่ย 2.11 คน ในปีที่ผ่านมาเกษตรกรมีรายได้สุทธิจากการเลี้ยงผึ้งเฉลี่ย 332,421.87 บาท โดยมีรายจ่ายในการเลี้ยงผึ้งเฉลี่ย 87,588.54 บาท และมีภาระหนี้สินคงค้างเฉลี่ย 44,791.67 บาท เกษตรกรทั้งหมดมีระดับความรู้เกี่ยวกับมาตรฐานฟาร์มผึ้งอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 0.68-1.00) และมีการยอมรับเกี่ยวกับมาตรฐานฟาร์มผึ้งระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 0.68-1.00) คิดเป็น ร้อยละ 95.8 การทดสอบสมมติฐานเพื่อหาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการยอมรับมาตรฐานฟาร์มผึ้งของเกษตรกรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยพบว่า ระดับการศึกษาและความรู้เกี่ยวกับมาตรฐานฟาร์มผึ้งมีอิทธิพลเชิงบวกต่อการยอมรับมาตรฐานฟาร์มผึ้งของเกษตรกร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยตัวแปรอิสระทั้ง 2 ตัวแปรสามารถอธิบายความผันแปร (R2)ของการยอมรับมาตรฐานฟาร์มผึ้งของเกษตรกร ได้ร้อยละ 24.80 
ผู้เขียน
565030063-4 นาย นพดล ภูมาลัย [ผู้เขียนหลัก]
คณะเกษตรศาสตร์ ปริญญาโท โครงการพิเศษ

การประเมินบทความ (Peer Review) มีผู้ประเมินอิสระ 
มีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
รูปแบบ Proceeding Full paper 
รูปแบบการนำเสนอ Poster 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล ไม่ได้รับรางวัล 
แนบไฟล์
Citation 0