2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความที่เผยแพร่ การประยุกต์ใช้อากาศยานซึ่งไม่มีนักบินประเภทควบคุมการบินจากภายนอกในการติดตามและวิเคราะห์การเจริญเติบโตของพืชสำหรับเกษตรกร 
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ 2 กุมภาพันธ์ 2561 
การประชุม
     ชื่อการประชุม การประชุมวิชาการเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศแห่งชาติ 
     หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) 
     สถานที่จัดประชุม ศูนย์ประชุมวายุภักษ์ ชั้น 4 โรงแรมเซ็นทรา บาย เซ็นทารา ศูนย์ราชการและคอนเวนชันเซ็นเตอร์ แจ้งวัฒนะ 
     จังหวัด/รัฐ กรุงเทพฯ 
     ช่วงวันที่จัดประชุม 1 กุมภาพันธ์ 2561 
     ถึง 2 กุมภาพันธ์ 2561 
Proceeding Paper
     Volume (ปีที่)
     Issue (เล่มที่)
     หน้าที่พิมพ์ 79 
     Editors/edition/publisher สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) 
     บทคัดย่อ โครงการวิจัยประยุกต์นี้ได้ทดลองนาอากาศยานซึ่งไม่มีนักบินประเภทอากาศยานที่ควบคุมการบินจากภายนอก หรือ UAV (Unmanned Aerial Vehicle) รุ่นที่สามารถหาซื้อได้ทั่วไปในท้องตลาดมาประยุกต์ใช้ในการวิเคราะห์ติดตามการเจริญเติบโตและความอุดมสมบูรณ์ของพืชเพื่อให้เป็นทางเลือกในการสารวจแปลงเกษตรสาหรับเกษตรกรทั่วไป UAV ที่เลือกทดลองใช้คือ DJI Phantom 4 โดยพิจารณาจากราคา คุณสมบัติของตัวอากาศยานและคุณภาพของกล้อง รวมถึงความง่ายต่อการใช้งาน พื้นที่ศึกษาคือบริเวณแปลงอ้อย มันสาปะหลัง และข้าวนาปรัง ในพื้นที่ อาเภอเชียงยืน จังหวัดมหาสารคาม การบินสารวจใช้วิธีถ่ายภาพแนวดิ่งจากความสูงประมาณ 90 เมตรจากพื้น โดยให้มีการซ้อนทับของภาพที่ 87% ทั้งในแนว along track และ across track การบินถ่ายแต่ละแปลงจะดาเนินการทุกๆ 30-40 วัน หลังจากนั้นภาพจะถูกนามามาประมวลผลผ่านโปรแกรม photogrammetry เพื่อสร้างภาพถ่ายออร์โธ (Orthophoto) และแบบจาลองพื้นผิวปกคลุมภูมิประเทศ (Digital Surface Model - DSM) การวิเคราะห์ติดตามการเจริญเติบโตและความอุดมสมบูรณ์ของพืชใช้วิธีการคานวณหาการเปลี่ยนแปลงของค่าปริมาตรหรือมวลชีวภาพ (Biomass) ของแปลงเกษตรจาก DSM ในแต่ละช่วงเวลา และได้ทดลองใช้ดัชนีพืชพรรณ Visible Atmospherically Resistant Index (VARI) เพื่อตรวจสอบความอุดมสมบูรณ์ของพืช ผลการทดลองพบว่า DSM สามารถถูกนามาใช้คานวณหามวลชีวภาพเพื่อติดตามการเจริญเติบโตของพืชทั้ง 3 ชนิดได้ แต่ต้องมีการตรึงพิกัดภาพถ่ายออร์โธและ DSM ให้อยู่ในระนาบและตาแหน่งเดียวกันโดยวิธี Image-to-Image ก่อนที่จะนามาวิเคราะห์ ดัชนีพืชพรรณ VARI สามารถเน้นค่าความสว่างบริเวณที่พืชพรรณมีความอุดมสมบูรณ์ได้ดี แต่ไม่ควรนามาใช้แทน NDVI เพราะปริมาณการสะท้อนช่วงคลื่นสีเขียวโดยรวมนั้นไม่สามารถจาแนกสถานะของพืชพรรณได้ดีเท่ากับช่วงคลื่นอินฟราเรดใกล้ นอกจากนี้เนื่องจากการถ่ายภาพด้วย UAV นั้นไม่สามรถทา Atmospheric Correction ได้ จึงไม่สามารถนาภาพจากแต่ละเดือนมาเทียบค่าดัชนีได้ ดัชนีนี้จึงมีประโยชน์ในการดูความอุดมสมบูรณ์ในแต่ละเดือนเท่านั้น อย่างไรก็ตามเมื่อวิเคราะห์จากผลลัพธ์ ประสิทธิภาพ ราคา ความรวดเร็ว และความง่ายในการใช้งาน UAV ที่หาซื้อได้ในท้องตลาดนี้สามารถนามาช่วยเกษตรกรวิเคราะห์ติดตามการเจริญเติบโตของพืชได้อย่างมีประสิทธิผลโดยไม่จาเป็นต้องซื้อ UAV ราคาแพง 
ผู้เขียน
587020064-4 นาย ศรัณย์ อภิชนตระกูล [ผู้เขียนหลัก]
วิทยาลัยการคอมพิวเตอร์ ปริญญาเอก ภาคปกติ

การประเมินบทความ (Peer Review) ไม่มีผู้ประเมินอิสระ 
มีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
รูปแบบ Proceeding Abstract 
รูปแบบการนำเสนอ Oral 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ ไม่เป็น 
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล ไม่ได้รับรางวัล 
แนบไฟล์
Citation 0