2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความที่เผยแพร่ ผลของการเคลือบเมล็ดพันธุ์ด้วยสารเรืองแสง Rhodamine B ต่อคุณภาพและการเรืองแสงของเมล็ดพันธุ์แตงกวาลูกผสมหลังการเก็บรักษา 
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ 20 มิถุนายน 2561 
การประชุม
     ชื่อการประชุม การประชุมทางวิชาการเมล็ดพันธุ์พืชแห่งชาติ ครั้งที่ 15 
     หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม สมาคมเมล็ดพันธุ์แห่งประเทศไทย 
     สถานที่จัดประชุม โรงแรมเชียงใหม่ภูคำ 
     จังหวัด/รัฐ เชียงใหม่ 
     ช่วงวันที่จัดประชุม 19 มิถุนายน 2561 
     ถึง 21 มิถุนายน 2561 
Proceeding Paper
     Volume (ปีที่) 2561 
     Issue (เล่มที่)
     หน้าที่พิมพ์ 92-106 
     Editors/edition/publisher สมาคมเมล็ดพันธุ์แห่งประเทศไทย 
     บทคัดย่อ การผสมผสานเทคโนโลยีการเคลือบเมล็ดพันธุ์ร่วมกับสารเรืองแสง rhodamine B ถูกนำมาใช้เพื่อเป็นแนวทางในการสร้างเอกลักษณ์ให้กับเมล็ดพันธุ์ เพื่อป้องกันการปลอมปนเมล็ดพันธุ์ที่มีคุณภาพต่ำ ดังนั้นการทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อติดตามคุณภาพ และการเรืองแสงของเมล็ดพันธุ์แตงกวาลูกผสมหลังการเคลือบร่วมกับ rhodamine B ในระหว่างการเก็บรักษา โดยดำเนินการทดลองที่ห้องปฏิบัติการเทคโนโลยีทางเมล็ดพันธุ์ โรงงานปรับปรุงสภาพเมล็ดพันธุ์ คณะเกษตรศาสตร์ และตรวจสอบคลื่นการเรืองแสงของเมล็ดพันธุ์ที่ห้องปฏิบัติการกลาง คณะเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยนำเมล็ดพันธุ์แตงกวามาเคลือบด้วย Polyvinylpyrrolidone (PVP-K30) เข้มข้น 7% เป็นสารเคลือบผสมร่วมกับ rhodamine B ที่อัตราความเข้มข้น 5 ระดับ คือ 0.3, 0.4, 0.5, 0.6 และ 0.7% หลังจากการเคลือบแล้วแบ่งเมล็ดพันธุ์เป็น 2 ส่วน โดยส่วนแรกนำมาตรวจสอบคุณภาพของเมล็ดพันธุ์ ส่วนที่สองนำมาตรวจสอบการเรืองแสงของเมล็ดพันธุ์ด้วยเครื่องฉายแสงอัลตราไวโอเลตแบบพกพา และเครื่อง Spectrophotometer จากการทดลองพบว่า ความงอก และความเร็วในการงอกของเมล็ดพันธุ์หลังการเคลือบ และหลังการเก็บรักษาไปแล้ว 6 เดือนไม่แตกต่างกันในทางสถิติ และเมื่อตรวจสอบการเรืองแสงที่ผิวของเมล็ดพันธุ์ที่เคลือบด้วย rhodamine B พบว่า เมล็ดพันธุ์มีการเรืองแสงเป็นสีส้มแดง และการเรืองแสงนี้ยังคงชัดเจนเมื่อเมล็ดพันธุ์ถูกเก็บรักษาไว้ในถุงอลูมิเนียมฟอยล์เป็นเวลานาน 6 เดือน อย่างไรก็ตามการเรืองแสงนั้นก็ยังคงเรืองแสงที่ช่วงความยาวคลื่น 610 nm แต่ความเข้มของการเรืองแสงจะลดลงเล็กน้อยหลังจากเร่งอายุเมล็ดพันธุ์ และหลังการเก็บรักษา อย่างไรก็ตามการเคลือบร่วมกับ rhodamine B ที่ความเข้มข้น 0.3% ยังคงมีการเรืองแสงอย่างเด่นชัด จึงสามารถนำมาใช้ในการสร้างเอกลักษณ์ให้กับเมล็ดพันธุ์แตงกวาได้ 
ผู้เขียน
595030089-9 น.ส. เกศินี ถนอมขวัญ [ผู้เขียนหลัก]
คณะเกษตรศาสตร์ ปริญญาโท ภาคปกติ

การประเมินบทความ (Peer Review) มีผู้ประเมินอิสระ 
มีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
รูปแบบ Proceeding Full paper 
รูปแบบการนำเสนอ Oral 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล ได้รับรางวัล 
     ชื่อรางวัล รางวัลยอดนิยมระดับชมเชย ประเภทบรรยาย 
     ประเภทรางวัล รางวัลด้านวิชาการ วิชาชีพ 
     หน่วยงาน/องค์กรที่มอบรางวัล สมาคมเมล็ดพันธุ์แห่งประเทศไทย 
     วัน/เดือน/ปี ทีด้รับรางวัล 21 มิถุนายน 2561 
แนบไฟล์
Citation 0