2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความ ปริมาณแอนโทไซยานิน ฤทธิ์การยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย และฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระของสารสกัดจากซังข้าวโพดข้าวเหนียวสีม่วงด้วยวิธีการสกัดแบบอัลตราโซนิก 
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ 25 กรกฎาคม 2561 
วารสาร
     ชื่อวารสาร วารสารวิจัยราชภัฏพระนคร สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 
     มาตรฐานของวารสาร TCI 
     หน่วยงานเจ้าของวารสาร สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร  
     ISBN/ISSN  
     ปีที่  
     ฉบับที่  
     เดือน
     ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ 2562 
     หน้า  
     บทคัดย่อ บทคัดย่อ งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาการสกัดสารแอนโทไซยานินจากซังข้าวโพดข้าวเหนียวสีม่วงด้วยตัวทำละลายอะซีโตนในสภาวะกรดร่วมกับเทคนิคอัลตราโซนิก โดยมุ่งเน้นศึกษา หาปริมาณสารแอนโทไซยานินที่สกัดได้ ฤทธิ์ในการยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย และ ความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระของสารที่สกัดได้จากซังแห้งของข้าวโพดข้าวเหนียวสีม่วง จากการศึกษาพบว่า สารสกัดที่ได้เมื่อนำไปวิเคราะห์หาปริมาณแอนโทไซยานินทั้งหมด ด้วยเทคนิค UV–VIS Spectroscopy พบว่ามีปริมาณแอนโทไซยานินทั้งหมด เท่ากับ 7,869.26 ไมโครกรัมสมมูล cyanidin–3–glucoside ต่อกรัมน้ำหนักซังแห้ง และนำสารสกัดที่ได้ไปทดสอบฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียเพื่อหาค่าความเข้มข้นต่ำสุดที่ยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อ (MIC) และ ความเข้มข้นต่ำสุดที่ฆ่าเชื้อ (MBC) ในเชื้อแบคทีเรีย 2 ชนิด คือ Escherichia coli และ Staphylococcus aureus พบว่าในเชื้อ Escherichia coli สารสกัดมีค่า MIC และ MBC เท่ากันคือ 25 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร ในขณะที่ในเชื้อ Staphylococcus aureus สารสกัดมีค่า MIC เท่ากับ 50 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร ส่วนค่า MBC > 200 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร และ เมื่อนำสารสกัดไปทดสอบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ 2 วิธี คือ DPPH assay และ FRAP assay พบว่าสารสกัดสามารถให้ผลต้านอนุมูลอิสระทั้ง 2 วิธี โดยเฉพาะในวิธี DPPH assay สารสกัดให้ค่าฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระสูงกว่า วิตามินซี 1.5 เท่า และสูงกว่า วิตามินอี ถึง 4 เท่า ABSTRACT This research work was a study of anthocyanin extraction from purple waxy corn cob using acetone acidified by hydrochloric acid as an extracting solvent accompany with ultrasonic technique. The work was emphasized on the amount of anthocyanin extract and the evaluation of their antimicrobial activity and antioxidant capacity. The extract was analyzed by UV-VIS spectroscopy for its total anthocyanin content. The results showed that the total anthocyanins content was 7,869.26 µg CGE/g DW. The antibacterial activity test of the extract was performed and determined for their minimal inhibitory concentration (MIC) and minimal bactericidal concentration (MBC) in two species of bacteria namely Escherichia coli and Staphylococcus aureus. It was found that the MIC and MBC values of Escherichia coli were similar and they were equal to 25 mg/mL. Whereas the MIC value of 50 mg/mL and the MBC value greater than 200 mg/mL were found for Staphylococcus aureus. The antioxidant capacity of anthocyanin extract was tested with two methods namely DPPH assay and FRAP assay. It was revealed that anthocyanin extract exhibited antioxidant characteristic in both tests. Result from DPPH assay showed that antioxidant activity of anthocyanin extract was 1.5 and 4 times higher than vitamin C and vitamin E, respectively.  
     คำสำคัญ แอนโทไซยานิน ข้าวโพดข้าวเหนียวสีม่วง การสกัด การยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย  
ผู้เขียน
555040067-9 น.ส. ฐานิดา รองสุพรรณ์ [ผู้เขียนหลัก]
คณะวิศวกรรมศาสตร์ ปริญญาโท ภาคปกติ

การประเมินบทความ มีผู้ประเมินอิสระ 
สถานภาพการเผยแพร่ ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ 
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
citation มี 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
แนบไฟล์
Citation 0