2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความที่เผยแพร่ การใช้กระบวนการตัดสินใจหลายปัจจัยแบบฟัซซีเพื่อเลือกแผนปรับปรุงทางรถไฟ: กรณีศึกษาทางรถไฟสายตะวันออกเฉียงเหนือ ช่วงชุมทางถนนจิระ ถึง สถานีหนองคาย ประเทศไทย  
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ 19 กรกฎาคม 2561 
การประชุม
     ชื่อการประชุม ืการประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 23 (NCCE23) 
     หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ 
     สถานที่จัดประชุม โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า  
     จังหวัด/รัฐ อำเภอเมือง จังหวัดนครนายก 
     ช่วงวันที่จัดประชุม 18 กรกฎาคม 2561 
     ถึง 20 กรกฎาคม 2561 
Proceeding Paper
     Volume (ปีที่) 2561 
     Issue (เล่มที่)
     หน้าที่พิมพ์ 260 
     Editors/edition/publisher  
     บทคัดย่อ หลายปีที่ผ่านมาการศึกษาเกี่ยวกับการเสื่อมสภาพของรางรถไฟนั้นเป็นประเด็นที่น่าสนใจค่อนข้างมากหลายองค์กรได้ทำการวิจัยอย่างจริงจังโดยมีจุดมุ่งหมายด้านการรักษาความปลอดภัยและความน่าเชื่อถือในระดับสูงด้านระบบโครงสร้างพื้นฐานเนื่องจากปัจจัยการเสื่อมสภาพเป็นประเด็นสำคัญของการศึกษาครั้งนี้การศึกษานี้ใช้กระบวนการตัดสินใจจากหลากหลายปัจจัยแบบคลุมเครือ (Fuzzy Multi Attribute Decision Making Method, FMADM) เพื่อวิเคราะห์การชำรุดและเสื่อมสภาพของทางรถไฟเพื่อเลือกแผนปรับปรุงสภาพทางรถไฟเมื่อถึงช่วงเวลาที่ต้องดำเนินการโดยการศึกษานี้ได้ทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องและออกแบบสอบถามเพื่อสอบถามความคิดเห็นจากผู้เชี่ยวชาญของการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท) และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการตัดสินใจเลือกแผนการปรับปรุงทางรถไฟผลการศึกษาพบว่าสภาพรางชำรุดหรือเสื่อมสภาพเป็นสภาพการชำรุดของรางมีความเสี่ยงสูงสุดต่อการเกิดอุบัติเหตุรถไฟตกรางซึ่งมีสาเหตุมาจากปัจจัยของสภาพการใช้งานซึ่งสามารถจำแนก Defect Code ตามมาตรฐาน The international Union of Railways (UIC) โดยวิธี Pairwise Comparison ได้ 4 ชนิดโดยแต่ละชนิดมีจุดเริ่มร้าวและทิศทางการลุกลามของร้อยร้าวของรางแตกต่างกันโดยมีค่าดัชนีความคลาดเคลื่อน (Contingency Index, CI) น้อยกว่า 0.01 โดยผู้เชี่ยวชาญให้น้ำหนักความรุนแรงของ Code 200: Transverse Break defect without apparent origin รุนแรงมากที่สุดคิดเป็นค่าน้ำหนัก 0.396 รองลงมาคือ Code 135: Star-Cracking of Fishbolt Holes คิดเป็นค่าน้ำหนัก 0.275 และรุนแรงน้อยที่สุดคือ Code 1321: Horizontal Cracking at Web-Head คิดเป็นค่าน้ำหนัก 0.142 และจากการวิเคราะห์ตามหลักเกณฑ์ของ FMADM ผู้เชี่ยวชาญให้น้ำหนักในการเลือกแผนการเปลี่ยนโครงสร้างทางมีความเหมาะสมมากกว่าแผนการปรับปรุงทางโดยให้น้ำหนักความสำคัญคิดเห็นเป็น 0.620 0.380 ตามลำดับ 
ผู้เขียน
597040039-2 นาย ธวัชชัย ปัญญาคิด [ผู้เขียนหลัก]
คณะวิศวกรรมศาสตร์ ปริญญาเอก ภาคปกติ

การประเมินบทความ (Peer Review) มีผู้ประเมินอิสระ 
มีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
รูปแบบ Proceeding Full paper 
รูปแบบการนำเสนอ Oral 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล ไม่ได้รับรางวัล 
แนบไฟล์
Citation 0