2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความ ลักษณะทางกายภาพและคุณภาพเมล็ดพันธุ์ผักกาดหอมหลังการพอกด้วยวัสดุประสาน และวัสดุพอกที่แตกต่างกัน 
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ 3 พฤษภาคม 2561 
วารสาร
     ชื่อวารสาร แก่นเกษตร 
     มาตรฐานของวารสาร TCI 
     หน่วยงานเจ้าของวารสาร คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     ISBN/ISSN  
     ปีที่ 46 
     ฉบับที่
     เดือน พ.ค.-มิ.ย.
     ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ 2561 
     หน้า 469-480 
     บทคัดย่อ เมล็ดพันธุ์ผักกาดหอมเป็นเมล็ดพันธุ์ขนาดเล็ก มีรูปร่างเรียวแบน และอาหารสะสมในเมล็ดน้อย การพอกเมล็ดพันธุ์เป็นวิธีการยกระดับคุณภาพเมล็ดพันธุ์ที่สามารถทำให้เพาะกล้าได้สะดวกขึ้น ซึ่งวัสดุประสานและวัสดุพอกเป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่จะทำให้การพอกเมล็ดพันธุ์ประสบความสำเร็จ งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวัสดุประสานและวัสดุพอกที่เหมาะสมสำหรับการพอกเมล็ดพันธุ์ผักกาดหอม โดยทำการทดลองที่ห้องปฏิบัติการเทคโนโลยีเมล็ดพันธุ์ อาคารโรงงานปรับปรุงสภาพเมล็ดพันธุ์ คณะเกษตรศาสตร์ และห้องปฏิบัติการเทคโนโลยีเภสัชกรรม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น แบ่งออกเป็น 2 การทดลอง คือ การทดลองที่ 1 การศึกษาวัสดุประสาน ใช้วัสดุประสาน 4 ชนิด คือ methylhydroxy ethylcellulose (MHEC), hydroxylpropyl methylcellulose (HPMC), polyvinyl pyrrolidone (PVP-K90) และ polyvinyl alcohol (PVA) และใช้ calcium sulfate อัตรา 250 กรัม เป็นวัสดุพอกต่อเมล็ดพันธุ์ผักกาดหอม 10 กรัม การทดลองที่ 2 การศึกษาวัสดุพอก ใช้วัสดุพอก 6 ชนิด คือ talcum, calcium carbonate, calcium sulfate, calcium carbonate ร่วมกับ pumice, calcium carbonate ร่วมกับ bentonite และ calcium carbonate ร่วมกับ zeolite และใช้ methylhydroxy ethylcellulose อัตรา 0.5 เปอร์เซ็นต์โดยน้ำหนัก เป็นวัสดุประสานต่อเมล็ดพันธุ์ผักกาดหอม 10 กรัม จากการตรวจสอบตรวจสอบลักษณะทางกายภาพเมล็ดพอก พบว่าเมล็ดพันธุ์ผักกาดหอมที่พอกด้วย MHEC และ calcium sulfate สามารถขึ้นรูปเมล็ดพอกได้ง่าย เมล็ดพอกมีความกร่อนต่ำ และสามารถละลายน้ำได้ดี เมื่อตรวจสอบคุณภาพเมล็ดพันธุ์หลังการพอก พบว่าการใช้ MHEC เป็นวัสดุประสาน และ calcium sulfate เป็นวัสดุพอก ไม่มีผลต่อความงอกและความเร็วในการงอก นอกจากนี้ยังพบว่าการพอกเมล็ดพันธุ์ทุกกรรมวิธีทำให้ต้นกล้าผักกาดหอมมีรากยาวกว่าเมล็ดพันธุ์ไม่พอก 
     คำสำคัญ การยกระดับคุณภาพเมล็ดพันธุ์ แคลเซียมซัลเฟต เมธิลไฮดรอกซี่เอทิลเซลลูโลส 
ผู้เขียน
585030060-2 น.ส. ศศิประภา บัวแก้ว [ผู้เขียนหลัก]
คณะเกษตรศาสตร์ ปริญญาโท ภาคปกติ

การประเมินบทความ มีผู้ประเมินอิสระ 
สถานภาพการเผยแพร่ ตีพิมพ์แล้ว 
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
citation ไม่มี 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
แนบไฟล์
Citation 0