2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความที่เผยแพร่ ความชุกและแบบแผนการใช้ยาเสพติดโดยวิธีฉีดของผู้ป่วยที่เข้ารับการบำบัดยาเสพติด แผนกผู้ป่วยนอก กรณีศึกษาโรงพยาบาลธัญญารักษ์อุดรธานี  
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ 13 กรกฎาคม 2561 
การประชุม
     ชื่อการประชุม การประชุมวิชาการระดับชาติ มอบ. วิจัย ครั้งที่ 12 “วิจัยและนวัตกรรมเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิต” 
     หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี 
     สถานที่จัดประชุม อาคารเทพรัตนสิริปภา มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี 
     จังหวัด/รัฐ อุบลราชธานี 
     ช่วงวันที่จัดประชุม 12 กรกฎาคม 2561 
     ถึง 13 กรกฎาคม 2561 
Proceeding Paper
     Volume (ปีที่)
     Issue (เล่มที่)
     หน้าที่พิมพ์ 532-542 
     Editors/edition/publisher  
     บทคัดย่อ การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความชุกของผู้ใช้ยาเสพติดโดยวิธีฉีดในกลุ่มผู้ป่วยนอก 2) เพื่อศึกษาแบบแผนการใช้ยาเสพติดโดยวิธีฉีด 3) เพื่อศึกษาจุดประสงค์ในการใช้ยาเสพติดโดยวิธีฉีด 4) เพื่อศึกษาการรับรู้ผลกระทบของใช้ยาเสพติด ทำการศึกษาในผู้ที่เข้ารับการบำบัดยาเสพติด แผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลธัญญารักษ์อุดรธานี 307 คน การเก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ อาศัยเครื่องมือ คือ “แบบสัมภาษณ์ประวัติการใช้ยาเสพติด แบบแผนการใช้ยาเสพติดโดยวิธีฉีด และการรับรู้ผลกระทบของยาเสพติดของผู้มารับบริการในโรงพยาบาลธัญญารักษ์อุดรธานี” ที่สร้างขึ้นโดยผู้วิจัยเอง จากการทบทวนตามทฤษฎีแนวคิดและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เป็นแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างมี4 ส่วน ได้แก่ ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสัมภาษณ์ส่วนที่ 2 ประวัติการใช้ยาเสพติด ส่วนที่ 3 การรับรู้ผลกระทบจากการใช้ยาเสพติด และส่วนที่ 4 แบบแผนการใช้ยาเสพติดโดยวิธีฉีดวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า ความชุกของผู้ใช้ยาเสพติดโดยวิธีฉีดของผู้เข้ารับการบำบัดรักษายาเสพติด ร้อยละ 2.28 ยาเสพติดที่เสพ ได้แก่ ยาบ้าอันดับหนึ่ง ร้อยละ 42.85 อายุที่เริ่มใช้ยาเสพติดโดยวิธีฉีดอยู่ระหว่าง 11-34 ปี เฉลี่ย 22 ปี ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 7.13ยาเสพติดอื่นที่ฉีดเป็นไอซ์และเฮโรอิน ร้อยละ 71.42 มีการใช้เข็มฉีดยาใหม่เมื่อต้องฉีดยา ในขณะที่ร้อยละ 71.42 ไม่เคยตรวจคัดกรองการติดเชื้อเอชไอวี และไวรัสตับอักเสบซี เหตุผลสำคัญที่ทำให้ฉีดยาเสพติดคือ ต้องการทดลอง และ อิทธิพลของเพื่อน ร้อยละ 42.85 รองลงมาคือเพื่อคลายเครียด และเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน มีจำนวนไม่มากนักที่ฉีดยาเพราะต้องการเข้าสังคมหรือการสังสรรค์ ผู้ฉีดยาทุกคนรับรู้ถึงผลกระทบของการฉีดยาเสพติดที่อาจเป็นอันตรายทั้งทางร่างกาย จิตใจ และสังคม  
ผู้เขียน
595070030-8 น.ส. กรรณิกา นามหย่อง [ผู้เขียนหลัก]
คณะแพทยศาสตร์ ปริญญาโท ภาคปกติ

การประเมินบทความ (Peer Review) มีผู้ประเมินอิสระ 
มีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
รูปแบบ Proceeding Full paper 
รูปแบบการนำเสนอ Poster 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล ไม่ได้รับรางวัล 
แนบไฟล์
Citation 0