2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความ โปรแกรมพัฒนาการรู้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา 
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ 9 สิงหาคม 2561 
วารสาร
     ชื่อวารสาร บริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     มาตรฐานของวารสาร TCI 
     หน่วยงานเจ้าของวารสาร กองบรรณาธิการวารสารบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     ISBN/ISSN  
     ปีที่ 14 
     ฉบับที่
     เดือน กรกฎาคม-ธันวาคม
     ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ 2561 
     หน้า  
     บทคัดย่อ การวิจัย โปรแกรมพัฒนาการรู้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษาเป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and Development )มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1.เพื่อศึกษาองค์ประกอบของการรู้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา 2.เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและที่พึงประสงค์การรู้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา 3.เพื่อพัฒนาโปรแกรมพัฒนาการรู้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษาศึกษา 4.เพื่อศึกษาผลการใช้โปรแกรมการพัฒนารู้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา โดยใช้ระเบียบวิธีการวิจัยแบบการวิจัยและพัฒนา ( Research and Development : R & D) ดำเนินการโดยแบ่งเป็น 4 ระยะ 7 ขั้นตอน ระยะที่ 1 การศึกษาแนวคิด ทฤษฎี งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับองค์ประกอบของ ICT Literacy ของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา และ หลักการบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศของผู้บริหารโรงเรียน ระยะที่ 2 การศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของ ICT Literacy ของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา และความต้องการจำเป็น ICT Literacy ของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา ระยะที่ 3 การพัฒนาICT Literacy ของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา ระยะที่ 4 การนำโปรแกรม ICT Literacy ของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา ไปใช้และการประเมินผลของการใช้โปรแกรมที่พัฒนาขึ้น สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ คือ การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้วิธีการแจกแจงความถี่ สถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานจัดลำดับความสำคัญแบบ Priority Needs Index (PNI) นำค่าเฉลี่ยมาแปลความหมาย และผลการวิจัยพบว่า 1.องค์ประกอบของ ICT Literacy ที่ได้จากการสังเคราะห์ได้แก่ ด้านที่ 1 กำหนด (define) ด้านที่ 2 สร้าง (create) ด้านที่ 3 การเข้าถึง(Access)ด้านที่ 4 จัดการ (manage) ด้านที่ 5 สื่อสาร (communicate) ด้านที่ 6 บูรณาการ (integrate) ด้านที่ 7 ประเมิน (evaluate) นำมาบูรณาการเข้ากับองค์ประกอบ ICT สำหรับผู้บริหารโรงเรียนที่สังเคราะห์ได้ 5 ด้าน 1.ด้านนโยบายส่งเสริมการบริหารจัดการ 2.ด้านโครงสร้างพื้นฐาน บริการทรัพยากร 3.ด้านครูผู้สอน บุคลากรทางการศึกษา 4.ด้านการเรียนการสอน/หลักสูตร กระบวนการเรียนรู้ 5.ด้านความร่วมมือระหว่างภาครัฐเอกชนและชุมชน 2. สภาพปัจจุบัน การรู้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษาอยู่ในระดับมาก สภาพที่พึงประสงค์สำหรับความต้องการจำเป็น ในการพัฒนาทักษะการรู้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อให้เกิดทักษะและความรู้ใหม่ๆโดยเรียงลำดับดังนี้ 1) ด้านการบูรณาการ(Integrate) 2) ด้านการประเมิน(Evaluate) 3) ด้านการจัดการ(Manage) เป็น 3 ลำดับแรกและมีความต้องการที่จะพัฒนาการรู้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารทั้ง 7 ด้าน 3. โปรแกรมฯ ประกอบด้วย 4 ส่วน ดังนี้ ส่วนที่ 1 บทนำ ส่วนที่ 2 รายละเอียดโปรแกรมการรู้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา ประกอบด้วย 7 โมดูล ส่วนที่ 3 การใช้โปรแกรมการรู้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา ส่วนที่ 4 การประเมินผลการใช้โปรแกรมการรู้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษาและเงื่อนไขความสำเร็จของการนำโปรแกรมการรู้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษาไปใช้ 4.ผลการใช้และประเมินผลโปรแกรมฯ ผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษามีความปฏิกิริยาตอบสนอง เจตคติ การรู้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หลังการพัฒนา สูงกว่าก่อนการพัฒนา และได้นำการรู้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารไปสู่การปฏิบัติในหน้าที่ในโรงเรียน โดยผู้เข้าร่วมโปรแกรมประเมินตนเอง และผู้ใต้บังคับบัญชาประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด  
     คำสำคัญ โปรแกรมพัฒนา, การรู้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร, ไอซีที , ICT Literacy 
ผู้เขียน
577050052-2 ว่าที่ ร.ต. ภูผาภูมิ โมรีย์ [ผู้เขียนหลัก]
คณะศึกษาศาสตร์ ปริญญาเอก โครงการพิเศษ

การประเมินบทความ มีผู้ประเมินอิสระ 
สถานภาพการเผยแพร่ ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ 
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
citation มี 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
แนบไฟล์
Citation 0