2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความ ผลของการทำ Seed Treatment ร่วมกับแบคทีเรียส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืชต่อความงอกและการเติบโตของผักกาดหอม 
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ 29 มีนาคม 2561 
วารสาร
     ชื่อวารสาร วารสารเกษตร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 
     มาตรฐานของวารสาร TCI 
     หน่วยงานเจ้าของวารสาร คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 
     ISBN/ISSN 0857-0841 
     ปีที่ 34 
     ฉบับที่
     เดือน กันยายน-ธันวาคม
     ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ 2561 
     หน้า 385-397 
     บทคัดย่อ การประยุกต์วิธีการทำ seed treatment ร่วมกับจุลินทรีย์ส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืช มีบทบาทสำคัญในการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้เมล็ดพันธุ์ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ดังนั้นการทดลองนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินการทำ seed treatment ด้วยจุลินทรีย์ส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืชในเมล็ดพันธุ์ผักกาดหอม และติดตามการงอก การเจริญเติบโตของต้นกล้า และการเพาะปลูกในระบบการปลูกพืชไร้ดิน โดยทดลองที่ Agriculture and Agri-Food Canada (AAFC) ประเทศแคนาดา แบ่งออกเป็น 2 การทดลอง คือ การทดลองที่ 1 คัดเลือกจุลินทรีย์ 2 ชนิด คือ Pseudomonas fluoresces 31-12 และ Bacillus subtilis ซึ่งแต่ละชนิดนำมาทำ seed treatment ประกอบด้วยวิธีการ แช่เมล็ดพันธุ์ เคลือบเมล็ดพันธุ์ และพอกเมล็ดพันธุ์ จากนั้นนำมาตรวจสอบความงอกและการเจริญเติบโตของต้นกล้า จากผลการตรวจสอบในสภาพห้องปฏิบัติการพบว่า ความงอกของเมล็ดพันธุ์ไม่มีความแตกต่างกันในทางสถิติ แต่การเคลือบและการพอกเมล็ดพันธุ์ร่วมกับ P. fluorescens 31-12 มีความยาวต้นดีที่สุด คือ 41.16 และ 41.23 มิลลิเมตร ตามลำดับ และการพอกเมล็ดร่วมกับ B. subtilis มีความยาวรากดีที่สุด คือ 124.26 มิลลิเมตร ส่วนการตรวจสอบในสภาพเรือนทดลองพบว่า การเคลือบและการพอกเมล็ดด้วย P. fluorescens 31-12 มีความยาวต้นดีที่สุด (60.10 และ 57.85 มิลลิเมตร ตามลำดับ) และมีน้ำหนักสดลำต้นดีที่สุด (747.72 และ 743.06 มิลลิกรัม ตามลำดับ) ส่วนการพอกเมล็ดด้วย P. fluorescens 31-12 มีน้ำหนักแห้งลำต้นดีที่สุด คือ 28.83 มิลลิกรัม และแตกต่างกันในทางสถิติเมื่อเปรียบเทียบกับเมล็ดที่ไม่ได้ผ่านการทำ seed treatment ส่วนการทดลองที่ 2 คัดเลือกวิธีการเคลือบและพอกเมล็ดร่วมกับ P. fluorescens 31-12 มาเพาะปลูกในระบบการปลูกพืชไร้ดิน พบว่าการเคลือบและการพอกเมล็ดพันธุ์ด้วย P. fluorescens 31-12 มีน้ำหนักสดใบ น้ำหนักสดราก น้ำหนักแห้งใบ และน้ำหนักแห้งรากมากกว่าและแตกต่างกันในทางสถิติอย่างชัดเจนเมื่อเปรียบเทียบกับเมล็ดควบคุม  
     คำสำคัญ เมล็ดพันธุ์ผักกาดหอม(Lettuce seed) seed treatments จุลินทรีย์(probiotic) คุณภาพเมล็ดพันธุ์(seed quality) 
ผู้เขียน
577030017-6 นาย จักรพงษ์ กางโสภา [ผู้เขียนหลัก]
คณะเกษตรศาสตร์ ปริญญาเอก ภาคปกติ

การประเมินบทความ มีผู้ประเมินอิสระ 
สถานภาพการเผยแพร่ ตีพิมพ์แล้ว 
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
citation มี 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
แนบไฟล์
Citation 0