2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความ ปัจจัยที่มีผลต่อความผูกพันต่อองค์กรของแพทย์ในโรงพยาบาลเอกชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ 17 กันยายน 2561 
วารสาร
     ชื่อวารสาร วารสารวิจัย มข. (ฉบับบัณฑิตศึกษา) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ื 
     มาตรฐานของวารสาร  
     หน่วยงานเจ้าของวารสาร วารสารวิจัย มข.(ฉบับบัณฑิตศึกษา) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ื 
     ISBN/ISSN 2286-7910 
     ปีที่
     ฉบับที่
     เดือน พฤษภาคม-สิงหาคม
     ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ 2561 
     หน้า  
     บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงระดับความผูกพันต่อองค์กรของแพทย์ในโรงพยาบาลเอกชนและวิเคราะห์ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความผูกพันต่อองค์กรของแพทย์ในโรงพยาบาลเอกชน โดยใช้วิธีวิจัยเชิงผสม (Mixed Methods Research) การเก็บข้อมูลใช้วิธีการสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้บริหารและแพทย์ที่ทำงานในโรงพยาบาลจำนวน10 คน และใช้แบบสอบถามกับกลุ่มตัวอย่างคือแพทย์ 155 คน ข้อมูลจากแบบสอบถามนำมาวิเคราะห์ด้วยค่าสถิติพื้นฐาน และเปรียบเทียบระดับความผูกพันต่อองค์กรของแพทย์ ด้วยสถิติ t-test และ F-test และวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ของปัจจัยที่มีผลต่อความผูกพันต่อองค์กรของแพทย์ในโรงพยาบาลเอกชน โดยหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (Pearson Product Moment Correlation Coefficient) ผลการวิจัยพบว่า โรงพยาบาลเอกชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ส่วนใหญ่มีอายุตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไป ลักษณะการบริหารโรงพยาบาล ประกอบด้วยผู้อำนวยการ รองผู้อำนวยการ หัวหน้าแผนกต่างๆ ส่วนใหญ่มีเครื่องมือและอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่จำเป็นสำหรับการดูแลรักษาคนไข้พื้นฐานเท่านั้น และสัดส่วนของแพทย์บางเวลามากกว่าแพทย์เต็มเวลา ความผูกพันของแพทย์ต่อโรงพยาบาลเอกชนในด้านพฤติกรรมการปฏิบัติงาน พบว่า แพทย์ส่วนใหญ่ใช้ความรู้ความสามารถในการทำงานอย่างเต็มที่ในระดับมากที่สุด ระดับความผูกพันอื่นๆอยู่ในระดับมาก ส่วนระดับความผูกพันของแพทย์ต่อโรงพยาบาลเอกชนในด้านทัศนคติ พบว่า อยู่ในระดับมากทั้งหมด ในการวิเคราะห์ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความผูกพันของแพทย์ต่อโรงพยาบาลเอกชน ซึ่งประกอบด้วย 3 ด้านคือปัจจัยด้านลักษณะงาน ด้านลักษณะองค์กร และด้านลักษณะประสบการณ์ทำงาน และปัจจัยย่อยทั้งหมด 15 ปัจจัย ผลจากวิเคราะห์พบว่า ทั้ง 3 ด้านมีความสัมพันธ์กับความผูกพันต่อองค์กรของแพทย์ในโรงพยาบาลเอกชนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 สำหรับปัจจัยย่อยทั้ง 15 ปัจจัยมีความสัมพันธ์กับความผูกพันต่อองค์กรอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แต่ระดับความสัมพันธ์ต่างกัน โดยมี 3 ปัจจัยย่อยที่มีความสัมพันธ์ในระดับสูง คือ 1)โรงพยาบาลมีเครื่องมือที่ทำให้เกิดความชำนาญ 2) การได้รับโอกาสความก้าวหน้าในการทำงาน 3) ที่ตั้งโรงพยาบาลอยู่ใกล้บ้าน แนวทางการสร้างความผูกพันต่อองค์กรของแพทย์ คือ โรงพยาบาลควรมีหน่วยงานที่ดูแลเรื่องความผูกพันต่อองค์กรของแพทย์โดยเฉพาะ ควรทำโครงการสร้างความเชี่ยวชาญด้วยการส่งแพทย์ไปศึกษาและอบรมต่อเนื่องในสาขาวิชาที่แพทย์แต่ละคนถนัด ควรมีเครื่องมือที่ทันสมัย เหมาะกับความเชี่ยวชาญของแพทย์ อีกทั้งควรสร้างแผนและเส้นทางความก้าวหน้าให้แพทย์  
     คำสำคัญ ความผูกพันต่อองค์กร, โรงพยาบาลเอกชน, แพทย์ 
ผู้เขียน
585740441-5 นาย โสภณ นันทาภรณ์ศักดิ์ [ผู้เขียนหลัก]
วิทยาลัยบัณฑิตศึกษาการจัดการ ปริญญาโท โครงการพิเศษ

การประเมินบทความ ไม่มีผู้ประเมินอิสระ 
สถานภาพการเผยแพร่ ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ 
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
citation ไม่มี 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
แนบไฟล์
Citation 0