2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความที่เผยแพร่ ความมั่นคงของการดำรงชีพของครัวเรือนแรงงานประมงย้ายถิ่นอีสานในถิ่นต้นทาง 
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ 16 พฤศจิกายน 2561 
การประชุม
     ชื่อการประชุม การประชุมวิชาการประชากรศาสตร์แห่งชาติ 2561 
     หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม สมาคมนักประชากรไทย 
     สถานที่จัดประชุม โรงแรมตวันนา  
     จังหวัด/รัฐ กรุงเทพมหานคร 
     ช่วงวันที่จัดประชุม 16 พฤศจิกายน 2561 
     ถึง 16 พฤศจิกายน 2561 
Proceeding Paper
     Volume (ปีที่)
     Issue (เล่มที่)
     หน้าที่พิมพ์ 143-156 
     Editors/edition/publisher สมาคมนักประชากรไทย 
     บทคัดย่อ การส่งสมาชิกครัวเรือนย้ายถิ่นไปทางานประมงทะเลที่เต็มไปด้วยความเสี่ยงภัยอันตราย ย่อมส่งผลต่อความมั่นคงของครัวเรือนในถิ่นต้นทางอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความมั่นคงของการดำรงชีพของครัวเรือนในถิ่นต้นทางที่มีสมาชิกย้ายถิ่นไปทำงานประมงทะเล ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงปริมาณ เก็บรวบรวมข้อมูลจากครัวเรือนแรงงานประมงย้ายถิ่น จำนวน 385 ครัวเรือน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่มโดยเลือกครัวเรือนในพื้นที่เขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ได้แก่ จังหวัดสุรินทร์ บุรีรัมย์ และศรีสะเกษ ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลในเดือน เมษายน 2561 การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสูงสุดและต่่ำสุด ผลการศึกษาพบว่า องค์ประกอบของการดำรงชีพของครัวเรือนแรงงานประมงย้ายถิ่นประกอบด้วย 5 ด้าน ได้แก่ ด้านเศรษฐกิจ ด้านสุขภาพ ด้านการศึกษา ด้านอาหาร และด้านการมีส่วนร่วมของชุมชน ครัวเรือนของแรงงานประมงย้ายถิ่นอีสานส่วนใหญ่มีความมั่นคงของการดำรงชีพในระดับค่อนข้างต่ำ คิดเป็นร้อยละ 52.1 ในขณะที่พบครัวเรือนที่มีความมั่นคงของการดารงชีพระดับต่ำ คิดเป็นร้อยละ 10.7 โดยครัวเรือนแรงงานประมงย้ายถิ่น มีคะแนนเฉลี่ยความมั่นคงในการดารงชีพงด้านการศึกษาสูงที่สุด คิดเป็นร้อยละ 77.8 ในขณะที่ความมั่นคงด้านเศรษฐกิจครัวเรือนมีเพียงร้อยละ 62.5 การที่ครัวเรือนมีความมั่นคงด้านเศรษฐกิจครัวเรือนระดับต่ำสะท้อนให้เห็นว่า การออกไปทางานประมงไม่อาจช่วยให้ครัวเรือนในถิ่นต้นทางยกระดับฐานะทางเศรษฐกิจได้เหมือนอย่างเช่นในอดีต รวมถึงรูปแบบการบริโภคในสังคมสมัยใหม่ที่มีการใช้จ่ายอย่างเข้มข้นทำให้ครัวเรือนไม่สามารถเก็บออมเงินเพื่อใช้จ่ายในอนาคตได้มากพอ แต่ครัวเรือนให้ความสำคัญกับการลงทุนทางการศึกษาเพิ่มขึ้น 
ผู้เขียน
577080041-9 นาย ณัฐพล มีแก้ว [ผู้เขียนหลัก]
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ปริญญาเอก ภาคปกติ

การประเมินบทความ (Peer Review) มีผู้ประเมินอิสระ 
มีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
รูปแบบ Proceeding Full paper 
รูปแบบการนำเสนอ Oral 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล ไม่ได้รับรางวัล 
แนบไฟล์
Citation 0