2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความ การเปรียบเทียบจำนวนและขนาดของฟอลลิเคิล และระดับความเข้มข้นฮอร์โมนสเตียรอยด์ระหว่างโครีดนมที่มีวงรอบการเป็นสัดตามธรรมชาติและโครีดนมที่ได้รับการเหนี่ยวนำการตกไข่ 
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ 28 มกราคม 2562 
วารสาร
     ชื่อวารสาร วารสารแก่นเกษตร Khon Kaen Agriculture Journal 
     มาตรฐานของวารสาร TCI 
     หน่วยงานเจ้าของวารสาร บรรณาธิการวารสารแก่นเกษตร คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     ISBN/ISSN ISSN 025-0485 
     ปีที่ 47 
     ฉบับที่ พิเศษ 1 
     เดือน มกราคม
     ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ 2562 
     หน้า ึ79 
     บทคัดย่อ การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบจำนวนและขนาดฟอลลิเคิล และระดับความเข้มข้นฮอร์โมนสเตียรอยด์ระหว่างโครีดนมที่มีวงรอบการเป็นสัดตามธรรมชาติและโครีดนมที่ได้รับการเหนี่ยวนำการตกไข่ ใช้โครีดนมหลังคลอดพันธุ์ลูกผสมโฮลสไตน์-ฟรีเชี่ยนระดับสายเลือดมากกว่า 87.5% และมีคะแนนความสมบูรณ์ร่างกายไม่น้อยกว่า 2.5 จำนวน 8 ตัวสุ่มโครีดนมให้ได้รับทรีทเมนต์ คือ กลุ่มควบคุม (control) โครีดนมได้รับการตรวจสัดและผสมเทียมในระยะที่ต้องรอได้ก่อนผสมเทียม (voluntary waiting period) มากกว่า60 วันขึ้นไป และกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมเหนี่ยวนำการตกไข่ (synchronized ovulation) ใช้โปรแกรม Double Ovsynch (GnRH - 7 วัน - PGF2α- 3 วัน - GnRH - 7 วัน - GnRH - 7 วัน - PGF2α- 2 วัน – GnRH และท􀃎ำผสมเทียมแบบกำหนดเวลาในชั่วโมงที่ 16 หลังฉีด GnRH เข็มสุดท้าย) จากการศึกษาพบว่า จำนวนฟอลลิเคิลขนาดกลางและขนาดใหญ่ของทั้งสองกลุ่มไม่มีความแตกต่างกัน (P>0.05) แต่จำนวนฟอลลิเคิลขนาดเล็กของกลุ่ม synchronized ovulation มีค่ามากกว่ากลุ่ม control อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) นอกจากนี้ขนาดของฟอลลิเคิลขนาดเล็กและขนาดกลางในกลุ่ม synchronized ovulation มีค่ามากกว่ากลุ่ม control อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) ในขณะที่ขนาดของฟอลลิเคิลขนาดใหญ่และฟอลลิเคิลก่อนตกไข่ทั้งสองกลุ่มไม่มีความแตกต่างกัน (P>0.05)ส่วนระดับความเข้มข้นของฮอร์โมนเอสตราไดออล (E2) ของกลุ่ม synchronized ovulation มีค่าสูงกว่ากลุ่ม control อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) แต่ระดับความเข้มข้นฮอร์โมนโปรเจสเทอโรน (P4) ของทั้งสองกลุ่มไม่มีความแตกต่างกัน จากการศึกษาสรุปได้ว่าการใช้โปรแกรมเหนี่ยวนำการตกไข่ โดยวิธี Double Ovsynch ทำให้จำนวนและขนาดฟอลลิเคิลเพิ่มขึ้น รวมทั้งระดับความเข้มข้นสเตียรอยด์ฮอร์โมน (E2) สูงกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับโครีดนมที่ผสมตามธรรมชาติ ซึ่งจะส่งผลดีต่อศักยภาพการตกไข่ และคุณภาพโอโอไซต์ 
     คำสำคัญ ฟอลลิเคิล, ฮอร์โมนสเตียรอยด์, การเหนี่ยวนำการตกไข่, โครีดนม 
ผู้เขียน
595030054-8 นาย วิรุฬห์ อินทโมนี [ผู้เขียนหลัก]
คณะเกษตรศาสตร์ ปริญญาโท ภาคปกติ

การประเมินบทความ มีผู้ประเมินอิสระ 
สถานภาพการเผยแพร่ ตีพิมพ์แล้ว 
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
citation มี 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
แนบไฟล์
Citation 0