2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความที่เผยแพร่ แคริโอไทป์ของปลาเสือข้างลายและปลาเสือป่าพรุ ในเผ่าซิสโตมินี วงศ์ปลาตะเพียนในประเทศไทย 
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ 20 ธันวาคม 2561 
การประชุม
     ชื่อการประชุม การประชุมวิชาการ การนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต ครั้งที่ 11 
     หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต 
     สถานที่จัดประชุม ณ อาคารเฉลิมพระเกียรติมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต 
     จังหวัด/รัฐ จังหวัดภูเก็ต 
     ช่วงวันที่จัดประชุม 20 ธันวาคม 2561 
     ถึง 20 ธันวาคม 2561 
Proceeding Paper
     Volume (ปีที่) 11 
     Issue (เล่มที่)
     หน้าที่พิมพ์ 1144 
     Editors/edition/publisher ศาสตราจารย์ดร.สัญชัย จุตรสิทธา 
     บทคัดย่อ งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแคริโอไทป์และอิดิโอแกรมของปลาในเผ่าซิสโตมินี 2 ชนิด ได้แก่ ปลาเสือข้างลาย (Puntigrus partipentazona) และ ปลาเสือป่าพรุ (Desmopuntius hexazona) โดยเตรียมโครโมโซมจากไต เก็บเกี่ยวเซลล์ด้วยเทคนิคโคลชิซิน-ไฮโปโทนิค-ฟิกเซชั่น-แอร์ดาร์ยอิง ย้อมสีโครโมโซมแบบธรรมดาและแถบสีแบบ NOR พบว่าจำนวนโครโมโซมดิพลอยด์ของปลาทั้งสองชนิดเท่ากับ 50 แท่ง มีจำนวนโครโมโซมพื้นฐานเท่ากับ 94 และ 98 ตามลำดับ เพศผู้และเพศเมียไม่สามารถจำแนกความแตกต่างของโครโมโซมเพศได้ จากการย้อมด้วยเทคนิคแถบสีแบบ NOR พบว่าปลาทั้งสองชนิดมีตำแหน่ง NOR ติดที่แขนข้างสั้นของโครโมโซม ปลาเสือข้างลายพบ 1 คู่ ส่วนปลาเสือป่าพรุพบ 2 คู่ ปลาทั้งสองชนิดมีสูตรแคริโอไทป์ดังนี้ ปลาเสือข้างลาย คือ 2n (50) = Lm4 + Lsm8 + La4 + Mm2 + Msm14 + Ma12 + Mt6 และปลาเสือป่าพรุ คือ 2n (50) =Lm22 + Mm2 + Msm24 + St2  
ผู้เขียน
597020056-4 น.ส. ภัชราภรณ์ ไชยสาร [ผู้เขียนหลัก]
คณะวิทยาศาสตร์ ปริญญาเอก ภาคปกติ

การประเมินบทความ (Peer Review) มีผู้ประเมินอิสระ 
มีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
รูปแบบ Proceeding Full paper 
รูปแบบการนำเสนอ Poster 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล ไม่ได้รับรางวัล 
แนบไฟล์
Citation 0