2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความ Effect of Cratoxylum formosum Dyer Extract on Sperm Motility and Concentration in L-NAME Hypertensive Rats 
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ 3 เมษายน 2562 
วารสาร
     ชื่อวารสาร ศรีนครินทร์เวชสาร (Srinagarind Medical Journal) 
     มาตรฐานของวารสาร TCI 
     หน่วยงานเจ้าของวารสาร คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     ISBN/ISSN  
     ปีที่ 34 
     ฉบับที่
     เดือน กรกฎาคม-สิงหาคม
     ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ 2562 
     หน้า  
     บทคัดย่อ หลักการและวัตถุประสงค์: Cratoxylum formosum (CF) หรือติ้วขาว มีรายงานว่ามีคุณสมบัติต้านอนุมูลอิสระและต้านการอักเสบ มีข้อมูลเพียงเล็กน้อยที่แสดงให้เห็นถึงผลของติ้วขาวต่อความดันเลือดและคุณภาพของสเปิร์ม การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลของสารสกัดติ้วขาวต่อความดันเลือด คุณภาพของสเปิร์มและภาวะเครียดออกซิเดชันในหนูขาวที่ถูกชักนำให้เกิดความดันเลือดสูงด้วยแอลเนม วิธีการศึกษา: หนูขาวเพศผู้ถูกแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม (8 ตัว/กลุ่ม) ได้แก่ กลุ่มควบคุม กลุ่มความดันเลือดสูง (L-NAME) และกลุ่มความดันเลือดสูงที่ได้รับสารสกัดติ้วขาว 100 มก/กก น้ำหนักตัว/วัน (CF100) กลุ่มความดันเลือดสูง หนูขาวถูกให้แอลเนมขนาด 40 มก/กก. น้ำหนักตัว ในน้ำดื่มเพื่อชักนำให้เกิดความดันเลือดสูง เป็นเวลา 5 สัปดาห์ ใน 2 สัปดาห์สุดท้าย หนูขาวในกลุ่ม CF100 ถูกป้อนด้วยสารสกัดติ้วขาวขนาด 100 มก/กก. น้ำหนักตัว เมื่อสิ้นสุดการทดลอง ความดันเลือดขณะหัวใจบีบตัว น้ำหนักตัว อัณฑะและท่อพักอสุจิถูกวัด การนับสเปิร์มถูกดำเนินการ ผลการศึกษา: หนูที่ได้รับแอลเนม เพิ่มความดันเลือดขณะหัวใจบีบตัว และลดการเคลื่อนที่และความเข้มข้นของสเปิร์มอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) นอกจากนี้ยังพบว่ามีการเพิ่มขึ้นของการผลิตซูเปอร์ออกไซด์ในหลอดเลือดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p <0.05) ซึ่งบ่งชี้ว่ามีการเพิ่มขึ้นของภาวะเครียดออกซิเดชันในสัตว์ทดลองรูปแบบนี้ ในขณะที่ไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญในน้ำหนักตัว น้ำหนักอัณฑะและท่อพักอสุจิระหว่างกลุ่มทดลอง สารสกัดติ้วขาว ช่วยบรรเทาการเปลี่ยนแปลงของคุณภาพของสเปิร์มและภาวะเครียดออกซิเดชันในหนูที่มีความดันเลือดสูง สรุป: การศึกษาครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่าการชักนำความดันเลือดสูงด้วยแอลเนม ส่งผลต่อการเคลื่อนที่และความเข้มข้นของสเปิร์ม ซึ่งอาจเกี่ยวข้องกับการลดการไหลเวียนของเลือดไปยังอวัยวะสืบพันธุ์และการเพิ่มการผลิตอนุมูลอิสระในหลอดเลือด สารสกัดติ้วขาวสามารถบรรเทาการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ได้ด้วยคุณสมบัติต้านอนุมูลอิสระ Background and Objective: Cratoxylum formosum (CF) or Taew Kaao has been reported to have strong antioxidant and anti-inflammatory properties. Little information regarding the effect of CF on blood pressure and sperm quality is demonstrated. This study proposed to evaluate the effect of CF extract on blood pressure, sperm quality and oxidative stress in L-NAME-induced hypertensive rats. Methods: Male Sprague-Dawley rats were divided into 3 groups (8/group); control, L-NAME and hypertensive treated with CF extract 100 mg/kg BW/day (CF100) groups. Hypertensive group, rats were orally treated with L-NAME 40 mg/kg BW/day in their drinking water to induce hypertension for 5 weeks. In the last 2 weeks, rats in CF100 group were orally treated with CF extract at dose 100 mg/kg BW. At the end of study, systolic blood pressure (SBP), body, testes and epididymis weights were measured. Sperm counting was performed. Results: L-NAME treated rats significantly increased SPB, and decreased sperm motility and concentration (p<0.05). Additionally, increased vascular superoxide production was found in L-NAME treated rats (p<0.05), indicating increased oxidative stress in this animal model. There is no significant difference in body weight, testis and epididymis weight among experimental groups. CF extract alleviated the alterations of sperm quality and oxidative stress in hypertensive rats. Conclusion: This study suggests that L-NAME induced hypertension affects sperm motility and sperm concentration. This might be related to decreased blood flow to the reproductive organs and increased vascular reactive oxygen species production. CF extract can alleviate these alterations via its antioxidant property.  
     คำสำคัญ Cratoxylum formosum, Antioxidant, Sperm concentration and motility, Oxidative stress 
ผู้เขียน
605070034-1 นาย อนุสรณ์ เปาะสะเกษ [ผู้เขียนหลัก]
คณะแพทยศาสตร์ ปริญญาโท ภาคปกติ

การประเมินบทความ มีผู้ประเมินอิสระ 
สถานภาพการเผยแพร่ ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ 
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
citation ไม่มี 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
แนบไฟล์
Citation 4