2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความ IMMEDIATE EFFECT OF THE RUBBER HAMMER ON FLEXIBILITY OF THE SUPERFICIAL BACK LINE  
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ 30 ธันวาคม 2561 
วารสาร
     ชื่อวารสาร วารสารเทคนิคการแพทย์และกายภาพบำบัด (JMTPT) 
     มาตรฐานของวารสาร TCI 
     หน่วยงานเจ้าของวารสาร คณะเทคนิคการแพทย์และกายภาพบำบัด มหาวิทยาลัยขอนแก่น  
     ISBN/ISSN  
     ปีที่ 31 
     ฉบับที่ 1 (2019) 
     เดือน January - April
     ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ 2562 
     หน้า 63-73 
     บทคัดย่อ วัตถุประสงค์ของการศึกษาครั้งนี้เพื่อทดสอบผลทันทีของค้อนยางต่อความยืดหยุ่นของเมอริเดียนส่วนผิวด้านหลัง (superficial back line: SBL) โดยเป็นการศึกษาแบบสุมชนิดมีกลุมควบคุมและปดบังผูประเมินผลการศึกษากระทําในอาสาสมัครสุขภาพดีเพศชายและเพศหญิงจํานวน 36 คนการแบ่งอาสาสมัครใช้วิธี block randomized allocation โดยแบ่งเป็นกลุ่มควบคุมและกลุมทดลองกลุ่มละ 18 คนอาสาสมัครในกลุมควบคุมให้นอนหงายผ่อนคลายในขณะที่อาสาสมัครในกลุ่มทดลองนอนคว่ำและได้รับการเคาะด้วยค้อนยางบนเมอริเดียนส่วนผิวด้านหลังโดยมีระยะเวลา 18 นาทีทั้งสองกลุ่มตัวแปรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ได้แก่การทดสอบ sit and reach การทดสอบ straight leg raising (SLR) และการทดสอบ Modified Schober เมื่อเปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงความยืดหยุ่นของร่างกายภายในกลุ่มด้วยการทดสอบ sit and reach พบว่ากลุ่มทดลองมีความยืดหยุ่นของร่างกายเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติจาก -3.98±2.18 เป็น -1.45±3.79 (95%CI 1.04 to 4.02) เซนติเมตรส่วนในกลุ่มควบคุมค่าของความยืดหยุ่นของร่างกายเปลี่ยนแปลงอย่างไม่มีนัยสําคัญทางสถิติ (p > 0.05) อย่างไรก็ตามการเปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงความยืดหยุ่นของร่างกายระหว่างกลุ่มพบว่าความยึดหยุ่นของร่างกายในกลุ่มทดลองเพิ่มขึ้นมากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p < 0.05) กรณีประเมินการเปลี่ยนแปลงความยืดหยุ่นด้วยการทดสอบ SLR ภายในกลุ่มพบว่าในกลุ่มทดลองมุมการงอสะโพกทั้งสองข้างเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติโดยมุมการงอสะโพกด้านซ้ายเพิ่มขึ้นจาก 61.92±8.53 เปน 66.49±9.98 (95%CI 2.44 to 6.70) องศาส่วนมุมการงอสะโพกด้านขวาเพิ่มขึ้นจาก 61.70±10.67 เป็น 66.68±11.43 (95%CI 3.21 to 6.76) องศาในขณะที่มุมการงอสะโพกทั้งสองด้านในกลุ่มควบคุมไม่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติและเมื่อเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มทั้งสองข้างพบว่ามุมการงอสะโพกด้านซ้ายและขวาในกลุมทดลองเพิ่มขึ้นมากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p < 0.05) อย่างไรก็ตามการทดสอบการเคลื่อนไหวระหว่างกระดูกสันหลังบริเวณอกระดับล่างและเอวด้วยการทดสอบ Modified Schober กรณีเปรียบเทียบภายในกลุ่มพบว่าทั้งกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมมีระยะทางระหวาางจุดอ้างอิงไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติเมื่อเปรียบเทียบภายในกลุ่ม (p > 0.05) และเปรียบเทียบระหว่างกลุ่ม (p > 0.05) การศึกษาครั้งนี้สรุปว่าการเคาะ SBL ด้วยค้อนยางสามารถเพิ่มความยืดหยุ่นของร่างกายและเพิ่มมุมงอสะโพกได้ทันทีด้วยการทดสอบ sit and reach และการทดสอบ straight leg raising  
     คำสำคัญ ค้อนยาง, เมอริเดียนส่วนผิวด้านหลัง, ความยืดหยุ่น 
ผู้เขียน
575090006-1 นาย ชัยวัฒน์ ชคัตตรัย [ผู้เขียนหลัก]
คณะเทคนิคการแพทย์ ปริญญาโท ภาคปกติ

การประเมินบทความ มีผู้ประเมินอิสระ 
สถานภาพการเผยแพร่ ตีพิมพ์แล้ว 
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
citation มี 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
แนบไฟล์
Citation 0