2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความ การพัฒนารูปแบบการบริหารเพื่อสร้างนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน  
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ 19 พฤษภาคม 2562 
วารสาร
     ชื่อวารสาร วารสารบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     มาตรฐานของวารสาร TCI 
     หน่วยงานเจ้าของวารสาร กองบรรณาธิการ วารสารบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     ISBN/ISSN 1686-6916 
     ปีที่ 15 
     ฉบับที่
     เดือน มกราคม - มิถุนายน
     ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ 2562 
     หน้า  
     บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบของการบริหารเพื่อสร้างนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2) ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นของการบริหารเพื่อสร้างนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน 3) พัฒนารูปแบบการบริหารเพื่อสร้างนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และ4) ศึกษาผลการใช้รูปแบบการบริหารเพื่อสร้างนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน วิธีดำเนินการใช้ระเบียบวิธีวิจัยและพัฒนา เป็น 3 ระยะ ดังนี้ ระยะที่ 1 (R1) ศึกษาองค์ประกอบ และ สภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นของการบริหารเพื่อสร้างนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ในโรงเรียนมัธยมศึกษา ระยะที่ 2 (D1) พัฒนารูปแบบการบริหารเพื่อสร้างนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ในโรงเรียนมัธยมศึกษา และ ระยะที่ 3 (R2,D2) ศึกษาผลการใช้รูปแบบการบริหารเพื่อสร้างนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ในโรงเรียนมัธยมศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพ ประกอบด้วย ผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้เชี่ยวชาญ ผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้สอนในโรงเรียนนวัตกรรม และผู้บริหารสถานศึกษา,ครูผู้สอนในโรงเรียนที่นำรูปแบบไปใช้ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเชิงปริมาณ ประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา และครูผู้สอนในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในปีการศึกษา 2561 จำนวน 560 คน ความเชื่อมั่นของแบบสอบถาม เท่ากับ 0.976 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์ แบบสอบถาม และแบบประเมิน ผลการวิจัยพบว่า 1. องค์ประกอบของการบริหารเพื่อสร้างนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัด สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน มี 5 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) การเสริมสร้างวัฒนธรรมเชิงสร้างสรรค์ 2) ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรม 3) การวางแผนกลยุทธ์เพื่อสร้างนวัตกรรม 4) การจัดกระบวนการสร้างนวัตกรรม และ 5) การวัดผลการสร้างนวัตกรรมในโรงเรียน 2. สภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ ความต้องการจำเป็นของการบริหารเพื่อสร้างนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า สภาพปัจจุบันโดยรวม อยู่ในระดับปานกลาง และสภาพที่พึงประสงค์โดยรวม อยู่ในระดับมากที่สุด ค่าดัชนีความต้องการจำเป็นสูงสุด ได้แก่ ด้านการจัดกระบวนการสร้างนวัตกรรม รองลงมาคือ ด้านการวัดผลการสร้างนวัตกรรมในโรงเรียน ด้านการเสริมสร้างวัฒนธรรมเชิงสร้างสรรค์ และด้านภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรม ตามลำดับ ส่วนด้านที่มีความต้องการจำเป็นต่ำสุด คือ ด้านการวางแผนกลยุทธ์เพื่อสร้างนวัตกรรม 3. ผลการพัฒนารูปแบบการบริหารเพื่อสร้างนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีดังนี้ รูปแบบที่สร้างและพัฒนา เรียกว่า CL-2PM MODEL ประกอบด้วยองค์ประกอบที่สำคัญ 5 ด้าน ได้แก่ 1) การเสริมสร้างวัฒนธรรมเชิงสร้างสรรค์ 2) ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรม 3) การวางแผนกลยุทธ์เพื่อสร้างนวัตกรรม 4) การจัดกระบวนการสร้างนวัตกรรม และ 5) การวัดผลการสร้างนวัตกรรมในโรงเรียน และผลการตรวจสอบรูปแบบโดยผู้เชี่ยวชาญ พบว่า รูปแบบมีความถูกต้อง ความเหมาะสม ความเป็นไปได้และความเป็นประโยชน์ อยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน 4. ผลการใช้รูปแบบ พบว่า ครูผู้สอนสร้างนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ตามเป้าหมายที่โรงเรียนกำหนด และนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ที่ครูผู้สอนสร้างขึ้นโดยภาพรวมอยู่ในคุณภาพระดับดี และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำรูปแบบไปใช้มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด และคุณภาพของรูปแบบมีมาตรฐานด้านความถูกต้อง ด้านความเหมาะสม ด้านความเป็นไปได้ และด้านความเป็นประโยชน์ อยู่ในระดับมากที่สุด เช่นกัน  
     คำสำคัญ รูปแบบการบริหาร, สร้างนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้, โรงเรียนมัธยมศึกษา 
ผู้เขียน
577050053-0 นาย วีระศักดิ์ พลมณี [ผู้เขียนหลัก]
คณะศึกษาศาสตร์ ปริญญาเอก โครงการพิเศษ

การประเมินบทความ มีผู้ประเมินอิสระ 
สถานภาพการเผยแพร่ ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ 
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
citation มี 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
แนบไฟล์
Citation 0