2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความ เปรียบเทียบวิธีการเก็บข้อมูลการรับประทานแคลเซียมในนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น: การสัมภาษณ์และการบันทึกข้อมูลด้วยตนเอง 
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ 25 พฤษภาคม 2562 
วารสาร
     ชื่อวารสาร วารสารเภสัชศาสตร์อีสาน (Isan Journal of Pharmaceutical Sciences, IJPS) 
     มาตรฐานของวารสาร TCI 
     หน่วยงานเจ้าของวารสาร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัย อุบลราชธาน 
     ISBN/ISSN 1905-0852 
     ปีที่ 13 
     ฉบับที่ supplement 
     เดือน มกราคม-มีนาคม
     ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ 2560 
     หน้า ุ614-618 
     บทคัดย่อ บทนำ: การเลือกเครื่องมือและวิธีการเก็บข้อมูลที่เหมาะสม เป็นขั้นตอนสำคัญในขบวนการวางแผนการวิจัย งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบวิธีการเก็บข้อมูลการรับประทานแคลเซียมของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นระหว่างการสัมภาษณ์และการบันทึกข้อมูลการรับประทานด้วยอาหารตนเองวิธีดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างคือนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นของโรงเรียนแห่งหนึ่งจำนวน 50คน ซึ่งได้จากการสุ่มอย่างเป็นระบบ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล ได้แก่ แบบสัมภาษณ์การรับประทานอาหารย้อนหลัง24 ชั่วโมง และ แบบบันทึกการรับประทานอาหาร 3 วัน การวิเคราะห์ปริมาณแคลเซียมที่ได้รับต่อวันใช้โปรแกรม INMUCAL- Nutrients การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณแคลเซียมที่รับประทานในแต่ละวันใช้สถิติ Spearman’s Rho ผลการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างที่ยินดีให้สัมภาษณ์มีจำนวน50คน(ร้อยละ 100) กลุ่มตัวอย่างที่บันทึกการรับประทานอาหารวันที่ 1 2 และ 3 จำนวน 43, 42, 42 คน ตามลำดับ และมีผู้บันทึกการรับประทานอาหารครบถ้วนทั้ง 3วันจำนวน 40คน (ร้อยละ 80) ค่ามัธยฐานปริมาณแคลเซียมที่รับประทานต่อวัน (มิลลิกรัม) จากการสัมภาษณ์ และการบันทึกด้วยตัวเอง วันที่ 1 2 และ 3 มีค่า 324.45, 224.49, 229.73 และ 228.00 ตามลำดับ ค่ามัธยฐานของปริมาณแคลเซียมที่รับประทานในแต่ละวันจากการเก็บข้อมูลด้วยวิธีการบันทึกการรับประทานอาหารด้วยตนเองมีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05)สรุปผลการวิจัย:วิธีการเก็บข้อมูลการรับประทานแคลเซียมด้วยวิธีการสัมภาษณ์การรับประทานอาหารย้อนหลัง24 ชั่วโมง น่าจะช่วยลดอคติที่เกิดจากการรายงานที่ต่ำกว่าความเป็นจริง แต่ไม่เหมาะสมในการเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างจำนวนมาก เนื่องจากต้องใช้ผู้เก็บข้อมูลหลายคน จึงเกิดอคติจากความแปรปรวนระหว่างผู้เก็บข้อมูล กรณีเลือกใช้แบบบันทึกการรับประทานอาหารเพื่อเก็บข้อมูล ผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่าการบันทึกข้อมูลการรับประทานอาหารในวันปกติเพียงวันเดียวและเป็นวันที่ไม่มีกิจกรรมงานเลี้ยงพิเศษ ให้ผลไม่แตกต่างกับบันทึกข้อมูล 3 วัน  
     คำสำคัญ แคลเซียม การสัมภาาณ์ การบันทึกข้อมูลด้วยตนเอง นักเรียน 
ผู้เขียน
597150007-2 นาง รักษวร ใจสะอาด [ผู้เขียนหลัก]
คณะเภสัชศาสตร์ ปริญญาเอก ภาคปกติ

การประเมินบทความ มีผู้ประเมินอิสระ 
สถานภาพการเผยแพร่ ตีพิมพ์แล้ว 
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
citation มี 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
แนบไฟล์
Citation 0