2012 ©
             Publication
Journal Publication
Title of Article เปรียบเทียบวิธีการเก็บข้อมูลการรับประทานแคลเซียมในนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น: การสัมภาษณ์และการบันทึกข้อมูลด้วยตนเอง 
Date of Acceptance 25 May 2019 
Journal
     Title of Journal วารสารเภสัชศาสตร์อีสาน (Isan Journal of Pharmaceutical Sciences, IJPS) 
     Standard TCI 
     Institute of Journal คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัย อุบลราชธาน 
     ISBN/ISSN 1905-0852 
     Volume 13 
     Issue supplement 
     Month มกราคม-มีนาคม
     Year of Publication 2017 
     Page ุ614-618 
     Abstract บทนำ: การเลือกเครื่องมือและวิธีการเก็บข้อมูลที่เหมาะสม เป็นขั้นตอนสำคัญในขบวนการวางแผนการวิจัย งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบวิธีการเก็บข้อมูลการรับประทานแคลเซียมของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นระหว่างการสัมภาษณ์และการบันทึกข้อมูลการรับประทานด้วยอาหารตนเองวิธีดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างคือนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นของโรงเรียนแห่งหนึ่งจำนวน 50คน ซึ่งได้จากการสุ่มอย่างเป็นระบบ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล ได้แก่ แบบสัมภาษณ์การรับประทานอาหารย้อนหลัง24 ชั่วโมง และ แบบบันทึกการรับประทานอาหาร 3 วัน การวิเคราะห์ปริมาณแคลเซียมที่ได้รับต่อวันใช้โปรแกรม INMUCAL- Nutrients การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณแคลเซียมที่รับประทานในแต่ละวันใช้สถิติ Spearman’s Rho ผลการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างที่ยินดีให้สัมภาษณ์มีจำนวน50คน(ร้อยละ 100) กลุ่มตัวอย่างที่บันทึกการรับประทานอาหารวันที่ 1 2 และ 3 จำนวน 43, 42, 42 คน ตามลำดับ และมีผู้บันทึกการรับประทานอาหารครบถ้วนทั้ง 3วันจำนวน 40คน (ร้อยละ 80) ค่ามัธยฐานปริมาณแคลเซียมที่รับประทานต่อวัน (มิลลิกรัม) จากการสัมภาษณ์ และการบันทึกด้วยตัวเอง วันที่ 1 2 และ 3 มีค่า 324.45, 224.49, 229.73 และ 228.00 ตามลำดับ ค่ามัธยฐานของปริมาณแคลเซียมที่รับประทานในแต่ละวันจากการเก็บข้อมูลด้วยวิธีการบันทึกการรับประทานอาหารด้วยตนเองมีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05)สรุปผลการวิจัย:วิธีการเก็บข้อมูลการรับประทานแคลเซียมด้วยวิธีการสัมภาษณ์การรับประทานอาหารย้อนหลัง24 ชั่วโมง น่าจะช่วยลดอคติที่เกิดจากการรายงานที่ต่ำกว่าความเป็นจริง แต่ไม่เหมาะสมในการเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างจำนวนมาก เนื่องจากต้องใช้ผู้เก็บข้อมูลหลายคน จึงเกิดอคติจากความแปรปรวนระหว่างผู้เก็บข้อมูล กรณีเลือกใช้แบบบันทึกการรับประทานอาหารเพื่อเก็บข้อมูล ผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่าการบันทึกข้อมูลการรับประทานอาหารในวันปกติเพียงวันเดียวและเป็นวันที่ไม่มีกิจกรรมงานเลี้ยงพิเศษ ให้ผลไม่แตกต่างกับบันทึกข้อมูล 3 วัน  
     Keyword แคลเซียม การสัมภาาณ์ การบันทึกข้อมูลด้วยตนเอง นักเรียน 
Author
597150007-2 Mrs. RAKSAWORN JAISAARD [Main Author]
Pharmaceutical Sciences Doctoral Degree

Reviewing Status มีผู้ประเมินอิสระ 
Status ตีพิมพ์แล้ว 
Level of Publication ชาติ 
citation true 
Part of thesis true 
Attach file
Citation 0