2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความที่เผยแพร่ สภาพที่เหมาะสมต่อการผลิตแมลงอาศัย Corcyra cephalonica เพื่อการผลิตแตนเบียนไข่ Trichogramma spp. 
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ 21 สิงหาคม 2561 
การประชุม
     ชื่อการประชุม อ้อยและน้ำตาลแห่งชาติ ปี 2561 
     หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาล, ศูนย์วิจัยพืชไรขอนแก่น กรมวิชาการเกษตร, มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     สถานที่จัดประชุม โรงแรมสุนีย์ แกรนด์โฮเทล แอนด์ คอนเวนชั่นเซ็นเตอร์ 
     จังหวัด/รัฐ อุบลราชธานี 
     ช่วงวันที่จัดประชุม 21 สิงหาคม 2561 
     ถึง 23 สิงหาคม 2561 
Proceeding Paper
     Volume (ปีที่) 46 
     Issue (เล่มที่) suppliment 2 2018 
     หน้าที่พิมพ์ 235-242 
     Editors/edition/publisher  
     บทคัดย่อ สภาพที่เหมาะสมต่อการผลิตแมลงอาศัย Corcyra cephalonica เพื่อการผลิตแตนเบียนไข่ Trichogramma spp. Suitable Conditions for Mass Production of Host Insect, Corcyra cephalonica to Produce Egg Parasitoid, Trichogramma spp. ยศชลากร สุขอยู่ 1 และ นุชรีย์ ศิริ 1* Yotechalakorn Sookyoo 1 and Nutcharee Siri 1* บทคัดย่อ: การเพาะเลี้ยงผีเสื้อข้าวสาร Corcyra cephalonica (Lepidoptera: Pyralidae) ในสภาพที่เหมาะสม ทำให้สามารถผลิตไข่อาศัยได้ปริมาณมากเพียงพอสำหรับการผลิตแตนเบียนไข่ Trichogramma spp.(Hymenoptera: Trichogrammatidae) โดยปัจจัยที่สำคัญต่อการเพาะเลี้ยงผีเสื้อข้าวสาร และใช้ในการทดสอบ คือ ขนาดกล่องเพาะเลี้ยงระยะหนอน ขนาดถุงตัวเต็มวัย และอุณหภูมิห้องเลี้ยง โดยประเมินผลผลิตจากข้อมูลด้านชีววิทยาของแมลงอาศัย จากการทดสอบขนาดถุงวางไข่ 2 ขนาด พบว่าถุงขนาด 35x40 ซม2. เหมาะสมสำหรับผีเสื้อข้าวสาร 500 ตัว การทดสอบกล่องเลี้ยงระยะหนอน 3 ขนาด ใน 2 อุณหภูมิคือ 25±2°C และ 28±2°C พบว่า กล่องพลาสติกขนาด 20x30x10 ซม3. เป็นขนาดที่เหมาะสมสำหรับการเพาะเลี้ยงด้วยไข่ผีเสื้อข้าวสาร 0.1 ก. ต่อรำข้าว 1 กก. เลี้ยงที่อุณหภูมิ 25±2°C สามารถผลิตไข่ผีเสื้อข้าวสารได้ 8.31 ก./กล่อง และเมื่อนำไข่ผีเสื้อข้าวสารทดสอบการเบียนของแตนเบียนไข่ Trichogramma spp. พบการเบียน 84.48% มีการฟัก 96.37% โดยมีต้นทุนการผลิต 12.14 บาท/แผ่น (2,000 ตัว/แผ่น) คำสำคัญ: ไข่ผีเสื้อข้าวสาร แตนเบียนไข่ การเบียน  
ผู้เขียน
595030040-9 นาย ยศชลากร สุขอยู่ [ผู้เขียนหลัก]
คณะเกษตรศาสตร์ ปริญญาโท ภาคปกติ

การประเมินบทความ (Peer Review) มีผู้ประเมินอิสระ 
มีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
รูปแบบ Proceeding Full paper 
รูปแบบการนำเสนอ Oral 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล ไม่ได้รับรางวัล 
แนบไฟล์
Citation 0