2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความที่เผยแพร่ การพัฒนาแบบทดสอบวินิจฉัยความสามารถในการสื่อสารภาษาญี่ปุ่น สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4  
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ 14 มิถุนายน 2562 
การประชุม
     ชื่อการประชุม การประชุมวิชาการ เสนอผลงานวิจัย ระดับบัณฑิตศึกษาแห่งชาติ ครั้งที่ 48 ระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 9 “นวัตกรรมและการสร้างสรรค์เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน” 
     หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร 
     สถานที่จัดประชุม ณ ศูนย์ศิลปวัฒนธรรมเฉลิมพระเกียรติ 6 มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์ นครปฐม  
     จังหวัด/รัฐ นครปฐม 
     ช่วงวันที่จัดประชุม 13 มิถุนายน 2562 
     ถึง 14 มิถุนายน 2562 
Proceeding Paper
     Volume (ปีที่) 48 
     Issue (เล่มที่) 48 
     หน้าที่พิมพ์ H528-H536 
     Editors/edition/publisher  
     บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างและหาคุณภาพแบบทดสอบวินิจฉัยความสามารถในการสื่อสารภาษาญี่ปุ่น สำหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ตรวจสอบคุณภาพของแบบทดสอบโดยประยุกต์ใช้โมเดลดีไอเอ็นเอ แบ่งวิธีดำเนินการวิจัยออกเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 เป็นการสร้างแบบทดสอบ ด้วยการกำหนดโมเดลพุทธิปัญญาและตรวจสอบความถูกต้องและเหมาะสมด้วยผู้เชี่ยวชาญ จากนั้นสร้างแบบทดสอบตามแผนผังการออกข้อสอบจากโมเดลพุทธิปัญญาที่กำหนดขึ้น นำไปทดลองใช้กับนักเรียนในเขตพื้นที่มัธยมศึกษา เขต 21 จำนวน 6 โรงเรียน นักเรียนจำนวน 12 คนเพื่อระบุความบกพร่อง ระยะที่ 2 เป็นการตรวจสอบคุณภาพของแบบทดสอบด้วยการนำแบบทดสอบที่พัฒนาขึ้นไปให้ผู้เชี่ยวชาญพิจารณาและทดลองใช้กับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 เพื่อตรวจสอบคุณภาพของแบบทดสอบรายข้อด้วยโมเดลดีไอเอ็นเอ และตรวจสอบคุณภาพของแบบทดสอบทั้งฉบับ ประกอบด้วย ความเที่ยง (Reliability) ความตรงเชิงเนื้อหา (Content Validity) และความตรงตามสภาพ (Concurrent Validity) กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 177 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือในการวิจัยนี้คือ แบบทดสอบวินิจฉัยความสามารถในการสื่อสารภาษาญี่ปุ่น สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. การกำหนดโมเดลพุทธิปัญญาระบุคุณลักษณะที่ต้องการวินิจฉัยสำคัญ 4 คุณลักษณะ จากนั้นกำหนดแผนผังการออกข้อสอบ (Q – matrix) และสร้างข้อสอบตามแผนผังการออกข้อสอบ (Q – matrix) ซึ่งเป็นการตอบคำถาม ถ้าตอบถูกได้ 1 คะแนน แต่ถ้าตอบผิดแม้แต่คำตอบเดียวในแต่ละข้อได้ 0 คะแนน ผลการตรวจสอบคุณภาพโดยใช้ทฤษฎีการทดสอบแบบดั้งเดิม(CTT) ได้แก่ ค่าความยาก(p) ระหว่าง 0.17-0.92 ค่าอำนาจจำแนก (r) ระหว่าง 0.08 – 0.42 มีค่าความเที่ยงด้วยการคำนวณจากวิธีคูเดอร์-ริชาร์ดสัน (KR20) ได้ 0.867 2. การตรวจสอบคุณภาพของแบบทดสอบรายข้อ มีค่าพารามิเตอร์การเดาข้อสอบถูก (c_j) อยู่ระหว่าง 0.01 – 0.05 ค่าพารามิเตอร์ความสะเพร่า(s_j) อยู่ระหว่าง 0.02 – 0.17 และดัชนีอำนาจจำแนกรายข้อ (Item Discrimination Index) อยู่ระหว่าง 0.26 – 0.75 ในส่วนของการตรวจสอบคุณภาพของแบบทดสอบทั้งฉบับ มีค่าความเที่ยงด้วยการคำนวณจากวิธีของลิวิงตัน (Livingston Method) เท่ากับ 0.986  
ผู้เขียน
605050077-5 น.ส. รัตติยา ศรีจันทร์ [ผู้เขียนหลัก]
คณะศึกษาศาสตร์ ปริญญาโท โครงการพิเศษ

การประเมินบทความ (Peer Review) มีผู้ประเมินอิสระ 
มีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
รูปแบบ Proceeding Full paper 
รูปแบบการนำเสนอ Oral 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล ไม่ได้รับรางวัล 
แนบไฟล์
Citation 0