2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความที่เผยแพร่ การบริหารความเสี่ยงดา้นบริหารงบประมาณในยุค Digital Disruption ของโรงเรียน สังกัดส านักงานเขตพื้นที่การศึกษา มัธยมศึกษา เขต 30  
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ 26 เมษายน 2562 
การประชุม
     ชื่อการประชุม การประชุมสัมนาทางวิชาการระดับชาติและงานบริหารสัมพันธ์ประจำปี 2562 
     หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม สมาคมพัฒนาวิชาชีพการบริหารการศึกษาแห่งประเทศไทย 
     สถานที่จัดประชุม โรงแรมแอมบาสชาเดอร์ ซิตี้ จอมเทียน จังหวัดชลบุรี 
     จังหวัด/รัฐ ชลบุรี 
     ช่วงวันที่จัดประชุม 26 เมษายน 2562 
     ถึง 26 เมษายน 2562 
Proceeding Paper
     Volume (ปีที่) 2562 
     Issue (เล่มที่)
     หน้าที่พิมพ์ 488-496 
     Editors/edition/publisher  
     บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ประกอบของการบริหารความเสี่ยงด้านบริหารงบประมาณในยุค Digital Disruption ของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มัธยมศึกษา เขต 30 เป็นการวิจัยเชิงบรรยาย ดำเนินการ 2 ขั้นตอน คือ 1) ศึกษาเอกสารเกี่ยวกับการบริหารความเสี่ยงด้านบริหารงบประมาณในยุค Digital Disruption จำนวน 12 เรื่อง เพื่อสังเคราะห์องค์ประกอบของการบริหารความเสี่ยงด้านบริหารงบประมาณในยุค Digital Disruption จากแนวคิดและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และ 2) ยืนยันองค์ประกอบของการบริหารความเสี่ยงด้านบริหารงบประมาณในยุค Digital Disruption ตามกรอบที่ได้สังเคราะห์จากเอกสาร โดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน ผลการวิจัยพบว่า การบริหารความเสี่ยงด้านบริหารงบประมาณในยุค Digital Disruption ของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มัธยมศึกษา เขต 30 มี 4 องค์ประกอบหลัก ได้แก่ 1) การระบุความเสี่ยง 2) การประเมินความเสี่ยง 3) การจัดการความเสี่ยง และ 4) การติดตามประเมินผลความเสี่ยง ซึ่งการบริหารความเสี่ยงมีองค์ประกอบที่สัมพันธ์กับการบริหารงบประมาณ 7 ด้าน ได้แก่ 1) การจัดการทำและเสนอของบประมาณ 2) การจัดสรรงบประมาณ 3) การตรวจสอบติดตามประเมินผลและรายงานผลการใช้เงินและผลการดำเนินงาน 4) การระดมทรัพยากรและการลงทุนเพื่อการศึกษา 5) การบริหารการเงิน 6) การบริหารบัญชี 7) การบริหารพัสดุและสินทรัพย์ คำสำคัญ: การบริหารความเสี่ยง, การบริหารงบประมาณ, Digital Disruption  
ผู้เขียน
605050091-1 นาย ธรรมนูญ วิชาหา [ผู้เขียนหลัก]
คณะศึกษาศาสตร์ ปริญญาโท โครงการพิเศษ

การประเมินบทความ (Peer Review) มีผู้ประเมินอิสระ 
มีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
รูปแบบ Proceeding Full paper 
รูปแบบการนำเสนอ Poster 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล ไม่ได้รับรางวัล 
แนบไฟล์
Citation 0