2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความที่เผยแพร่ กระบวนการผลิตวัสดุเชิงประกอบอลูมิเนียมA356/SiC ด้วยการกวนและการฉีดแรงดันสูง Processing of aluminiumA356/Silicon carbide composite using a mechanical stirring and high pressure die casting  
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ 22 กรกฎาคม 2562 
การประชุม
     ชื่อการประชุม งานประชุมวิชาการข่ายงานวิศวกรรมอุตสาหการประจำปี 2562 ( IE Network Conference 2019) 
     หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 
     สถานที่จัดประชุม Mandarin Hotel, 662 Rama IV Road, BangRak, Bangkok, 10500 
     จังหวัด/รัฐ กรุงเทพ 
     ช่วงวันที่จัดประชุม 21 กรกฎาคม 2562 
     ถึง 24 กรกฎาคม 2562 
Proceeding Paper
     Volume (ปีที่) 37 
     Issue (เล่มที่)
     หน้าที่พิมพ์ 527-531 
     Editors/edition/publisher  
     บทคัดย่อ ในการศึกษานี้ได้ศึกษาปัจจัยกระบวนการผลิตวัสดุเชิงประกอบอลูมิเนียมA356/ซิลิกอนคาร์ไบด์ด้วยกระบวนการกวนและการฉีดแรงดันสูง การผลิตวัสดุตั้งต้นผลิตขึ้นโดยการกวนด้วยแรงทางกลเพื่อผสมอนุภาคซิลิกอนคาร์ไบด์ขนาด 15 µm. ผสมในปริมาณ 15%wt แล้วเทลงในแม่พิมพ์สเตนเลส วัสดุผสมถูกนำมาให้ความร้อนอีกครั้งที่อุณหภูมิ 610-615 °C จากนั้นฉีดด้วยเครื่องแรงดันสูง โดยความเร็วในการฉีดมีค่าเท่ากับ 3 และ 4 m/s และแรงดันแม่พิมพ์ 11 และ 12 MPa แม่พิมพ์มีลักษณะเป็นแท่งยาว มีขนาดเท่ากับ 16 × 15.6 × 205 mm. จากนั้นนำตัวอย่างมาผ่านกระบวนการทางความร้อนT6 โดยอบละลายที่อุณหภูมิ 540 ° C นาน 1 ชั่วโมง ชุบในน้ำ หลังจากนั้นบ่มแข็งที่อุณหภูมิ 135 °C เป็นเวลา 12 ชั่วโมง ผลการทดลองแสดงให้เห็นว่าความแข็งเพิ่มขึ้นเมื่อเพิ่มความเร็วและแรงดันแม่พิมพ์ เนื่องจากความเร็วที่ 3 m/s และแรงดัน 11 MPa เป็นเงื่อนไขในการฉีดที่แนะนำสำหรับ A356 ที่หลอมเหลวแต่ชิ้นทดสอบพบว่าเนื้อโลหะไม่สม่ำเสมอที่ปลายชิ้นงาน เมื่อเพิ่มความเร็วและแรงดันแม่พิมพ์จะส่งผลให้เพิ่มความสมบูรณ์ของชิ้นงาน การทดสอบความแข็งแบบบริเนลล์ ได้ดำเนินการทั้งก่อน และหลัง T6 ค่าความแข็งสูงสุดที่ 82.16 HB ได้จากชิ้นงานฉีดที่ความเร็ว 4 m/s และแรงดันแม่พิมพ์ 12 MPa โครงสร้างจุลภาคในพื้นที่ตัดขวางแสดงการกระจายตัวของอนุภาคซิลิกอนคาร์ไบด์บนเนื้อพื้นอลูมิเนียม A356 อย่างสม่ำเสมอ หลังจาก T6 ค่าความแข็งของวัสดุผสมเพิ่มขึ้นประมาณ 15.6% ผลการทดสอบแรงกระแทกมีความสัมพันธ์แบบแปรผกผันกับค่าความแข็ง และลักษณะการแตกแบบตามขอบเกรน ซึ่งลักษณะการแตกจะขึ้นอยู่กับการกระจายตัวของอนุภาค หากอนุภาครวมตัวกันมากจะส่งผลให้มีจุดเริ่มต้นรอยแตกและการขยายรอยแตกเพิ่มมากขึ้น 
ผู้เขียน
605040077-1 น.ส. ชรินทร์รัตน์ โพธิสว่าง [ผู้เขียนหลัก]
คณะวิศวกรรมศาสตร์ ปริญญาโท ภาคปกติ

การประเมินบทความ (Peer Review) มีผู้ประเมินอิสระ 
มีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
รูปแบบ Proceeding Full paper 
รูปแบบการนำเสนอ Oral 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล ไม่ได้รับรางวัล 
แนบไฟล์
Citation 0