2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความ การประเมินความเสี่ยงทางการยศาสตร์การทำงานโดยวิธีการ RULA ของพนักงานโรงงานผลิตน้ำดื่ม อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์Ergonomic Risk Assessment by RULA in Drinking water plants staffs in Chalomephakiat District, Burirum Province 
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ 21 สิงหาคม 2562 
วารสาร
     ชื่อวารสาร วารสารวิจัย มข. (ฉบับบัณฑิตศึกษา) 
     มาตรฐานของวารสาร TCI 
     หน่วยงานเจ้าของวารสาร งานบริการวิชาการ กองบริหารงานบัณฑิตวิทยาลัย 
     ISBN/ISSN 2672-9636 (online) [Formerly ISSN 1906-201X] (Print) 
     ปีที่ 20 
     ฉบับที่
     เดือน กรกฏาคม - กันยายน
     ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ 2562 
     หน้า  
     บทคัดย่อ การศึกษาวิจัยในครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง (Cross-sectional Descriptive Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินความเสี่ยงด้านการยศาสตร์การทำงานต่อความผิดปกติของระบบโครงร่างกล้ามเนื้อของพนักงานโรงงานผลิตน้ำดื่ม อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์ จำนวน 64 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามแบบมีโครงสร้างและแบบประเมินความเสี่ยงการยศาสตร์ RULA วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive statistics) และสถิติ Chi-squared test กำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ p- value 0.05 ผลการวิจัยพบความชุกของอาการผิดปกติของระบบโครงร่างกล้ามเนื้อในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมาร้อยละ 57.81 โดยส่วนใหญ่ปวดบริเวณมือและข้อมือทั้งด้านขวาและด้านซ้าย ร้อยละ 25.76 และ 34.38 ตามลำดับ ผลการประเมินความเสี่ยงทางการยศาสตร์ พบว่ากลุ่มตัวอย่างมีท่าทางการทำงานมีความเสี่ยงสูงสุดคือ ระดับที่ 4 ขั้นตอนเรียงถังน้ำ ร้อยละ 23.44 และความเสี่ยงที่พบมากที่สุดในระดับ 2 คือร้อยละ 51.56 โดยพบว่า ท่าทางการทำงานของลำตัวที่มีการโน้มตัวไปด้านหน้าโดยองศาการโน้มตัวมีความสัมพันธ์ความผิดปกติของระบบโครงร่างกล้ามเนื้ออย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (Chi-Square=30.276, p- value < 0.001) จากการประเมินความเสี่ยงท่าทางการทำงาน ควรมีเครื่องผ่อนแรงในการยกหรือเคลื่อนย้ายถังน้ำดื่มและปรับระดับหน้างานให้มีความเหมาะสม เพื่อ ไม่ให้มีการออกแรงมากเกินไปและป้องกันการเกิดอาการผิดปกติระบบโครงร่างกล้ามเนื้อ This study was a cross-sectional analytic research. Data were collected by using structural questionnaires and the standard rapid upper limb assessment (RULA) in 64 Drinking water plants staffs in Chalomephakiat District, Burirum Province. by purposive sampling method. Data analysis were descriptive statistics and inferential statistics for correlation analysis at p-value <0.05. Three-month prevalence of Musculoskeletal Disorder was 57.81 %. The most of the pain in the right hand and wrist 25.76% and left 34.38 %. results of the assessment of ergonomics It was found that the sample group had the highest risk of working position, level 4, 23.44 %, and the most common risk at level 2 was 51.56%. The posture of the body that is leaning forward (Chi-Square = 30.276, p- value < 0.001 ) In conclusions, this study risk assessment, work posture Should a relief to move or move the drinking water tank and adjust the level to suit the usage too. 
     คำสำคัญ ความผิดปกติของระบบโครงร่างกล้ามเนื้อ การยศาสตร์ RULA 
ผู้เขียน
605110100-3 น.ส. กมลชนก สหุนาฬุ [ผู้เขียนหลัก]
คณะสาธารณสุขศาสตร์ ปริญญาโท โครงการพิเศษ

การประเมินบทความ มีผู้ประเมินอิสระ 
สถานภาพการเผยแพร่ ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ 
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
citation มี 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
แนบไฟล์
Citation 0